การศัลยกรรมแก้ไขตาล่าง
โครงสร้างของตาล่าง
ปัญหาต่างๆ ของตาล่างจะแตกต่างกันตามเพศวัย และลักษณะปัญหาของแต่ละคน ซึ่งสามารถอธิบายได้จากสภาพปัญหาที่พบบ่อย และการทําหัตถการด้านความงามของเบ้าตาล่าง แบ่งเป็น 3 หัวข้อใหญ่ คือ ริ้วรอยใต้ตา, ถุงใต้ตา (Baggy Eye Lid) และปัญหาเบ้าตาหมองคล้ำ
ริ้วรอยใต้ตา
ปัญหาริ้วรอยเป็นปัญหาปกติที่ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัยต้องพบ ไม่ว่าจะริ้วรอยใต้ตา หรือร่องตีนกาตรงหางตา เนื่องจากการแสดงออกทางอารมณ์บนใบหน้านั้น เมื่ออายุที่มากขึ้นประกอบกับโดนแสงแดด หรือแสงจากจอคอมพิวเตอร์จอมือถือเป็นเวลานานจะส่งผลให้โครงสร้างใต้ผิวหนังเกิดการเสื่อมและหย่อนยานมากขึ้นโครงสร้างไขมัน และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันจะฝ่อแบนลง ประกอบกับถุงใต้ตาดันปูดมากขึ้น ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงตามวัย จะส่งผลให้โครงสร้างกระดูกเบ้าตาและโหนกแก้มกร่อน ทําให้ดูเบ้าตากว้าง ลึกมากขึ้น
แนวทางการแก้ไข ต้องแก้ไขตามสาเหตุที่เกิดปัญหาจึงจะได้ผลดีที่สุด เช่น กรณีที่ริ้วรอยไม่เยอะมาก ร่วมกับเบ้าตาที่ไม่ลึกมาก ไม่มีถุงใต้ตาปูด ออกมา การรักษาที่เหมาะสมอาจเป็นการใช้เลเซอร์ หรือการใช้ Botulinum toxin การใช้ครีมบำรุงใต้ตา การใช้ครีมกันแดด และการใส่แว่นกันแดด เหล่านี้ล้วนแต่เป็นการปกป้องไม่ให้ผิวหนังเสื่อมสภาพเร็วมากขึ้น ทําให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ กรณีที่รอยย่นใต้ตามาก อาจจะร่วมกับเบ้าตาลึก หรือมีถุงใต้ตาร่วมด้วย การแก้โดยการผ่าตัดจะได้ประโยชน์และแก้ไขปัญหาตรงจุดมากกว่า
ถุงใต้ตา (Baggy EyeLid)
เมื่อวัยเพิ่มมากขึ้นร่วมกับโครงสร้างต่างๆของเบ้าตา และตาล่างเกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น จะทำให้ถุงใต้ตายื่นปูดออกมามากขึ้น (Herniation) ทําให้เห็นเป็นถุง ลักษณะเป็นก้อน ไม่ว่าจะดูใน ท่าปกติ หรือแม้แต่เวลามองตาขึ้นข้างบนถุงก็จะปูดออกมาให้เห็นชัดมากขึ้น ซึ่งเป็นการยืนยันว่ามีถุงใต้ตา และถุงใต้ตาจะโตมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ ปริมาณไขมันใต้ตาที่อยู่ในตําแหน่งนั้นๆ ร่วมกับสภาวะความหย่อนยาน
แนวทางการแก้ไข ศัลยแพทย์จะประเมินว่า สาเหตุนั้นมาจากอะไร และมีปัจจัยอื่นร่วมด้วยหรือไม่ เช่นริ้ยรอยใต้ตา และความหย่อนของผิมหนังและร่องน้ำตาลึกมากหรือไม่ อายุ และโรคประจําตัวของคนไข้ เพศ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ต้องนำมาประกอบ ร่วมกับการตรวจร่างกายและตา อย่างละเอียดก่อนวางแผนแก้ไขให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งแนวทางการผ่าตัด แก้ไขถุงใต้ตา มีวิธีต่างๆ ดังนี้
การผ่าตัดแก้ไขผ่านเยื่อบุตา
ข้อบ่งชี้ของการผ่าตัดด้วยวิธีนี้ คือผู้ป่วยยังมีอายุน้อย มีปัญหาเฉพาะถุงใต้ตา ผิวหนังยังไม่หย่อนคล้อย และไม่ต้องการให้มีแผลข้างนอกชิดขนตา
วิธีการผ่าตัด
วิธีนี้จะไม่มีแผลผ่าตัดข้างนอก จะเป็นการผ่าตัดผ่านเยื่อบุตาด้านล่าง โดยเปิดแผลผ่าตัดประมาณ 2 เซนติเมตร จากนั้น จึงเปิดเนื้อเยื่อเข้าสู่ถุงไขมัน โดยอาจจะเอาถุงไขมันออกบางส่วน หรือย้ายไปแก้ไขด้วยการถมในส่วนที่ เป็นร่องลึกคล้ำา จะแก้ไขได้ทั้งถุงใต้ตา ร่องน้ําตา และรอยคล้ำใต้ตา
ข้อดี ของวิธีนี้ คือไม่มีแผลข้างนอก ใช้เวลาพักฟื้นน้อย โดยปกติจะมี อาการบวมจากยาชาประมาณ 2-3 วันและไม่เสี่ยงต่อภาวะตาแหกตาปลิ้น เนื่องจากไม่ได้ผ่าตัดเอาหนังส่วนเกินใต้ตาออก
ส่วนข้อเสียคือ แก้ไขได้เฉพาะถุงใต้ตา และหรือร่องน้ำตา ศัลยแพทย์ที่ทำต้องมีความรู้ความชำนาญ และมีทักษะในการผ่าตัดและเย็บแผล รวมทั้ง การห้ามเลือดภายในแผลผ่าตัดขนาดเล็กๆ ในเบ้าตาเป็นอย่างดี รวมทั้ง สามารถวางแผนแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ หากมีปัญหาเรื่องแผลผ่าตัดอักเสบ ติดเชื้อ จะดูแลแผลค่อนข้างยากกว่าแผลผ่าตัดด้านนอก
การผ่าตัดแก้ไขถุงใต้ตา แบบจัดเรียงไขมัน มีแผลข้างนอกชิดขนตา
ข้อบ่งชี้ของการผ่าตัดด้วยวิธีนี้คือ มีถุงใต้ตาร่วมกับมีปัญหาอื่นๆใต้ตา ได้แก่ ริ้วรอยใต้ตา ผิวหนังใต้ตาหย่อนมีร่องน้ําตาลึก หลังผ่าตัดแก้ไขแล้วได้ ผลดีในระยะยาว ผู้ป่วยยอมรับที่จะเห็นแผลผ่าตัดในช่วงแรก โดยเฉพาะใน ช่วง 3 เดือนแรก ที่อยู่ชิดขนตา
วิธีการผ่าตัด
ศัลยแพทย์จะกรีดแผลผ่าตัดชิดขนตาล่างจากนั้นจะเลาะเนื้อเยื่อเพื่อ เข้าไปหาถุงไขมัน ในรายที่มีถุงไขมันขนาดใหญ่มาก ศัลยแพทย์จะเอาไขมันในถุงออกบางสว่ น และเย็บปิดถุงไขมัน จัดแต่งความตึงของกล้ามเนื้อเปลือกตาล่างให้กระชับมากขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดใหม่ในอนาคต ส่วนในรายที่มีปริมาณไขมันไม่มาก หรือมีร่องน้ําตาค่อนข้างลึก ศัลยแพทย์จะเลาะเพื่อเรียงไขมันใต้ตาทั้ง 3 กลุ่มใหม่ โดยนําบางส่วนไปถมแก้ไขร่องน้ําตาและแนวขอบเบ้าตาที่ดูลึก
ข้อดี คือเป็นการผ่าตัดแก้ไขตรงตามปัญหา คือสามารถแก้ไขถุงไขมัน ซึ่งจะไม่ได้เอาถุงไขมันออกทั้งหมด แต่จะเรียงไปถมส่วนที่ขาด ทำให้แก้ปัญหาเบ้าตาลึก และร่องน้ำตาไปด้วย สามารถแก้ไขผิวหนังรวมถึงกล้ามเนื้อที่หย่อนคล้อยให้ตึงขึ้นในระดับหนึ่ง แต่ใช่ว่าริ้วรอยจะหายไปทั้งหมดทั้งสิ้น
ส่วน ข้อเสีย คือเห็นแผลผ่าตัดชิดขนตาล่างในช่วงแรก แผลหายช้า และเข้าท่ีช้ากว่าวิธีการผ่าตัดแบบกรีดผ่าเยื่อบุตาด้านใน ต้องใช้เวลาในการดูแลรักษาอย่างน้อย 1-3 เดือนแรก จากนั้นทุกอย่างจะกลับมาใกล้เคียงปกติ ซึ่งขึ้นอยู่กับ เพศ วัย โรคประจําาตัว และรายละเอียดการผ่าตัดแก้ไขด้วย
เคลียร์ปัญหาเบ้าตาหมองคล้ำ
แบ่งตามสาเหตุการเกิดได้ 2 อย่างคือ เบ้าตาหมองคล้ำ ที่เป็น ธรรมชาติและเบ้าตาหมองคล้ำลึกโบ๋ที่ตามมาหลังผ่าตัดเอาถุงใต้ตาออกมากเกินไป โดยสาเหตุและแนวทางแก้ไขของแต่ละแบบ มีดังต่อไปนี้
ปัญหาเบ้าตาหมองคล้ำตามธรรมชาติ
สาเหตุส่วนใหญเกิดจากภาวะเบ้าตาลึก ไขมันใต้ตาน้อย ผิวหนังบาง การทํางานที่ต้องเพ่งอยู่หน้าจอ คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ หลายชั่วโมงต่อวัน หรืออดหลบ อดนอนร่วมด้วย ติดต่อกันนานๆ หรือมีโรคประจําตัวบางอย่างร่วม เช่น ภูมิแพ้ เป็นต้น
ปัญหาเบ้าตาหมองคล้ำและลึกโบ๋ที่เป็นผลจากการผ่าตัด
ไม่ว่าจะเกิดจากเอาถุงใต้ตาออกมากเกินไป หรือประสบอุบัติเหตุ หรือได้รับการผ่าตัด บริเวณเบ้าตาล่างมาก่อน เช่น อุบัติเหตุ ทําให้ผิวหนังฝ่อลงและยุบตัวลง หากทีปัญหาผิวหนังบางร่วมด้วยก็ยิ่งทำให้ดูเห็นชัด ดูโทรม และเกิดสีคล้ำร่วมกับแสงกระทบตามมุมลึกแล้ว ย่ิงทําให้ดูเป็นเงาคล้ำชัดขึ้น
การแก้ไขหรือรักษาปัญหาเบ้าตาคลํา้าลึกโบ๋ จะต้องแก้ไขตามสาเหตุ ดังกล่าว โดยแบ่งเป็นแนวทางหลักๆ คือ
การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดแก้ ไข (lower blephraroplasty with fat repositioning technique)
วิธีนี้จะเหมาะสมในกรณีที่เบ้าตาคล้ำ ร่วมกับเบ้าตาลึกอย่างชัดเจน
อาจมีปัญหาเรื่องถุงใต้ตา และหคือ มีผิวหนัง หย่อนคล้อยร่วมด้วย ศัลยแพทย์ตกแต่งจะผ่าตัดเหมือนการแก้ไขปัญหาถุงใต้ตาเบ้าตาลึก โดยจะทําาการจัดเรียงไขมันใต้ตาใหม่ ให้สมดุลและเต็มมากขึ้น โดยหากไขมันใต้ตามีปริมาณ น้อยไม่เพียงพอ อาจใช้วิธีการปลูกถ่ายไขมัน (Lipofilling หรือ Microfat transfer) หรืออาจใช้วิธีการผ่าตัด ย้ายแผ่นเนื้อเยื่อไขมันเพื่อมาปลูกร่วม (Dermal fat graft) เพื่อแก้ปัญหาเบ้าตาลึกโบ๋ และหากมีปัญหาเรื่อง โครงสร้างกระดูกเบ้าตายุบตัว หรือกระดูกผิดรูป การผ่าตัดนั้นจะต้องแก้ไข กระดูกยุบให้เรียบร้อยเสียก่อน
การรักษาด้วยวิธีการปลูกถ่ายไขมัน (Lipo filling หรือ Microfat transfer)
การรักษาด้วยวิธีการปลกู ถ่ายไขมันเหมาะในกรณที่มีปัญหาเบ้าตาลึก คล้ำและไม่มีถุงใต้ตาป่องจนเห็นชัด และไม่มีรอยย่นใต้ตามาก จุดประสงค์ ของการปลกูถ่ายไขมัน (Microfattransfer หรือ Lipofilling)นั้นจะหวังเพิ่มปริมาตรของไขมันให้อิ่มเต็มขึ้น สำหรับรอยหมองคล้ำ นั้นส่วนใหญ่ อาการจะ ดีขึ้นหลังทำไปประมาณ 4 เดือน ขึ้นไปเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างผิวหนัง หลังปลูกถ่ายไขมัน จะเต็มและตึงขึ้น เม็ดสีจะมีความเข้มลดลง
นอกจากนี้ หากสามารถสกัดไขมันเป็นอนุภาคท่ีเล็กลง ซึ่งเรียกว่า Nanofat หรือผ่านกระบวนการที่ย่อยสลายให้เล็กลงอีกเป็น Stromal vascular fraction (SVF) เราสามารถนํามาฉีดใต้ช้ันผิวหนังร่วมด้วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปลูกถ่ายไขมัน และทําให้ผิวหนังบริเวณนั้นดูสดใสมากข้ึน โดยวิธีปลูกถ่ายไขมัน (Microfat/Nanofat transfer)
ทั้งนี้จะได้ผลดีมากแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับความรู้ความชํานาญของศัลยแพทย์ร่วมด้วย และเนื่องจากบริเวณรอบดวงตามีเส้นเลือกเส้นประสาทมาก หากฉีดโดยปราศจากความรู้และใช้เข็มฉีดไม่เหมาะสม อาจส่งผล อันตรายต่อเส้นเลือดดํา หรือแดง ซึ่งส่งผลให้ตาบอดได้ ฉะนั้นควรฉีดโดยศัลยแพทย์ตกแต่งที่ผ่านการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดี
การใช้เลเซอร์
การใช้เลเซอร์มีจุดประสงค์เพื่อลดเม็ดสีใต้ตาให้จางลง ร่วมกับการทําให้ผิวหนังดูเต่งตึงมาขึ้น ส่วนใหญ่จะใช้ในกรณีท่ีมีปัญหาเบ้าตาลึก หมองคล้ำท่ีไม่ต้องผ่าตัดหรือใช้ร่วมในการแก้ไขลดเม็ดสีหลังผ่าตัดไปแล้วแต่ ต้องการให้ผลชัดเจนมากขึ้น
การใช้ครีมบํารุงและครีมกันแดด
แนะนำให้ใช้ในทุกกรณีไม่ว่าจะผ่าตัดหรือไม่ก็ตามเพื่อป้องกันผิวหนังเสื่อมสภาพจากแสงแดดและมลภาวะมากขึ้น อันจะช่วยส่งเสริมให้หลังผ่าตัด ผิวหนังฟื้นฟูได้เร็วข้ึน และช่วยป้องกันไม่ให้ตาลึกหมองคล้ำมากกว่าเดิม
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการดูแลแบบองค์รวม
เช่น การใช้แว่นกันแดด เมื่อต้องออกนอกแสงแดดเป็นเวลานาน หคือการ พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารให้เหมาะสมและสมดุลของฮอร์โมน จะส่งผลให้ผิวหนังและโครงสร้างไขมันเสื่อมสภาพช้ากว่าท่ีควรจะเป็น เป็นต้น
ภาวะแทรกซ้อน หลังผ่าตัดตาล่าง
ตาแหก ตาปลิ้น (Ectropion)
เป็นภาวะที่หนังตาด้านล่างปลิ้นออกมา จนเลยระดับแนวของขนตาเดิม ทำให้เห็นเยื่อบุตาด้านใน และทําให้เกิดอาการระคายเคือง น้ําตาไหลและ อาจตามมาด้วยเยื่อบุตาอักเสบได้ โดยปกติภาวะตาแหก ตาปลิ้นหลังผ่าตัด ตาล่างนั้นพบได้น้อย โดยเฉพาะหากทําการผ่าตัดโดยศัลยแพทย์เฉพาะทาง ด้านศัลยกรรมตกแต่ง ซึ่งผ่านการอบรมมาเป็นอย่างดี
ปัจจัยที่เพิ่มโอกาสเกิดตาแหกตาปลิ้น (Ectropion) ได้แก่ การขาด ความรู้ความชํานาญของศัลยแพทย์ อันส่งผลให้การประเมินการตัดผิวหนัง ออกมากเกินไป หรือการเย็บแผลที่ทําให้เกิดแรงดึงตึงมากเกินไป ส่งผลให้เกิดภาวะดึงรั้งจนเกิดตาแหกหรือปลิ้นได้ ฉะนั้นการทําาตาล่างกับแพทย์ เฉพาะทาง โดยเฉพาะกับศัลยแพทย์ตกแต่ง ก็สามารถช่วยลดความเสี่ยง ตรงจุดนี้ได้
กรณีที่ผ่านการผ่าตัดมาหลายครั้งไม่ว่าจะผ่าตัดตาล่างหรืออุบัติเหตุ หรือ ความพิการต่างๆ รวมถึงกรณีผู้สูงอายุที่มีภาวะหนังตาล่างหย่อนยานมาก ภาวะตาโปน (Exopthalmos) หรือผู้ป่วยที่มีประวัติสูบบุหรี่จัด ดื่มสุรามาก ซึ่งส่งผลให้แผลหายช้าบวมนาน และมีประวัติเป็นภูมิแพ้ ระคายเคืองตาง่าย (Sjogren’s syndrome)
โดยปกติตาแหกตาปลิ้นสามารถแบ่งแนวทางการรักษาได้เป็น 2 วิธี คือกรณีที่เป็นไม่มาก เช่น หลังผ่าตัดแล้วมีอาการระคายเคือง ล้างหน้า หรืออาบน้ําแล้วน้ําเข้าตา แต่ไม่เห็นแบะปลิ้นออกมาชัดเจน และอาการเป็น อยู่ในช่วง 3 เดือนแรก เราเรียกว่า
ภาวะเปลือกตาปลิ้นปลอม (Psuedoextropion)
แนวทางรักษา คือแนะนําให้นวดคลึงเบาๆ ด้วยนิ้วมือบริเวณใต้ตา และตลอดแนวแผลผ่าตัด เพื่อกระตุ้นให้ลดบวมได้เร็วขึ้น การระบายของ ระบบโลหติ และน้ำเหลืองเป็นไปได้ดีขึ้นส่งผลให้ลดบวมและแผลนิ่มขึ้นเข้าที่เร็วขึ้น นอกจากนี้ ยังป้องกันได้ด้วยการใส่แว่นกันลมกันแดด โดยเฉพาะเมื่อต้องออกไปนอกบ้าน หรือขับขี่รถจักรยานยนต์เพื่อลดอาการระคายเคืองตา หากมีประวัติเป็นภูมิแพ้ิเคืองตาง่ายมาก่อน แนะนําให้รับประทานยารักษาภูมิแพ้และระคายเคืองร่วมด้วย
ใช้น้ําตาเทียมหยอดเพื่อลดอาการระคายเคือง หากเป็นค่อนข้างมาก แนะนําให้ใช้แผ่นกาวเทป (Sterile strip หรือ Micropore) ปิดดึงแนวขอบ ตาล่างเพื่อพยุงไม่ให้ตาแบะปลิ้น จะช่วยลดการระคายเคืองและทําให้เข้าที่เร็วขึ้น
กรณีที่ตาปลิ้นเป็นมาก มองเห็นได้ชัด หรือผ่านการรักษาด้วยการประคับประคองแล้วไม่ดีขึ้น เรา เรียกว่าเป็น
ภาวะเปลือกตาปลิ้นจริง (True ectropion)
แนวทางรักษา คือด้วยการผ่าตัด ได้แก่ ผ่าตัดดึงมุมหางตาให้ขึงตึง มากขึ้น (Lateral Canthopexy) การย้ายเนื้อเยื่อบริเวณอื่นมาขึงให้ตึงจากบริเวณหัวตาไปถึงหางตา รวมถึงการย้ายผิวหนังมาแก้ไข (Skin graft) เป็นต้น
อาการบวม และเลือดคั่งหลังผ่าตัด (Hematoma)
ส่วนใหญ่เกิดจากการห้ามเลือดหลังผ่าตัดทําได้ไม่ดี และยังคงมีเลือด ซึมๆ ก่อนเย็บปิด หรือผู้ป่วยที่เคยได้รับยากลุ่มยาระบายลิ่มเลือดมาก่อน หรือมีประวัติเลือดออกแล้วหยุดยาก อาการบวมจะมากขึ้นเรื่อยๆบริเวณใต้ตา อาจบวมลามมาถึงโหนกแก้ม หากปล่อยไว้นานและมีแรงดันมาก อาจไป กดบริเวณเบ้าตา ทําให้ส่งผลต่อการมองเห็นหรือตาบอดได้ อาการดังกล่าว ผู้ป่วยจะมีอาการบวมมากร่วมกับปวดเบ้าตา ส่วนกรณีที่เป็นไม่มาก อาจทําให้บวมหายช้าและเสี่ยงต่อการอักเสบได้
หากพบว่ามีอาการบวมมาก หรือมากขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่ลดลง ร่วมกับ มีอาการปวดมากขึ้น ให้รีบพบศัลยแพทย์ที่ทําาการผ่าตัด หรือศัลยแพทย์ที่ใกล้ที่สุดเพื่อตรวจประเมิน หากมีเลือดคั่งจะต้องผ่าตัดระบายเลือดคั่ง และ ห้ามเลือดก่อนจะเย็บปิด
แต่หากมีอาการบวมมากและเป็นมาหลายวัน ศัลยแพทย์อาจใส่สาย ยางระบายอันเล็กๆ บริเวณแนวแผลที่เย็บ เพื่อช่วยระบายทําให้หายเร็วขึ้น
แผลเป็นบริเวณขอบขนตาล่าง (Lower Eye Lid Scar)
โดยปกติรอยแผลเป็นจากการผ่าตัดตาล่างจะเห็นในช่วง 2 สัปดาห์แรก และจะค่อยๆจางมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่จะหายและมองแทบไม่ชัดหลัง 6 เดือนขึ้นไป อาการนี้อาจรักษาได้ด้วยการใช้แค่ครีมบํารุงทาใต้ตา และนวดคลึงบนแผลทุกๆวัน แผลจะค่อยๆดีขึ้นเองซึ่งแทบจะไม่ต้องซื้อยาทาแก้แผลเป็น หรือใช้เลเซอร์ใดๆ ช่วยเลย
ตาคล้ำหรือห้อเลือดคล้ำหลังผ่าตัด (Bruise or Echymosis)
ปกติอาการตาคล้ำซึ่งเกิดจากเม็ด เลือดแดงสลายนนั้นส่วนใหญ่จะค่อย จางหายเองตามธรรมชาติ ซึ่งหากต้องการให้หายเร็วขึ้น อาจใช้การนวดคลึง ใต้ตาร่วมกับการทาครีมบําารุงใต้ตา และใส่แว่นกันแดดเมื่อออกกลางแจ้ง การใช้เลเซอร์เพื่อลดรอยคล้ำหลังผ่าตัด จะมีประโยชน์ในช่วงหลัง 4 เดือน ขึ้นไป
นพ.พิชาญศักดิ์ บุญมาศ