Untitled-6copy copy.png
 
 
 


บทบาทของสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งเสริมสวยแห่งประเทศไทย

สมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งเสริมสวยฯ เป็นองค์กรวิชาชีพสำหรับศัลยแพทย์ตกแต่งที่ผ่านการฝึกอบรมอย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล เช่นเดียวกับสมาคมในลักษณะเดียวกันในประเทศอื่นๆที่พัฒนาแล้ว

ประชาชนทั่วไปพึงทราบว่า การทำงานทางด้านศัลยกรรมความงามนั้น มิใช่ง่ายเพียงแค่ความอยากหรือสนใจของแพทย์คนหนึ่ง หากแต่ต้องมีองค์ประกอบสำคัญหลายประการ ในการจะสร้างหรือเปลี่ยนจากแพทย์ทั่วไป เป็นผู้ที่มีความรู้และทักษะที่ดีพอจะมาดูแลรักษาผ่าตัดคน เพื่อให้อวัยวะต่างๆที่เป็นปกติอยู่ มิได้มีโรค ให้ดูดีขึ้นมีความสวยงามมากขึ้น

และเมื่อมีการฝึกฝนอบรมจนได้ศัลยแพทย์ตกแต่งผู้เชี่ยวชาญแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีองค์กร ที่คอยควบคุมและพัฒนาคุณภาพของสมาชิก ผลประโยชน์ที่ได้รับจะตกแก่ประชาชนที่มารับบริการ ทั้งความสวยงามและความปลอดภัยในเวลาเดียวกัน

 

วัตถุประสงค์ของสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งเสริมสวยแห่งประเทศไทย

  1. เป็นที่รวมของศัลยแพทย์ตกแต่งเสริมสวยที่มีความรู้ความสามารถและประพฤติดี

  2. ส่งเสริมความก้าวหน้าของศัลยแพทย์ตกแต่งเสริมสวยในด้านการศึกษา ค้นคว้า และแลกเปลี่ยนความรู้

  3. เผยแพร่วิทยาการช่วยเหลือและแนะนำประชาชน สมาชิกสาขาวิชาแพทย์ และองค์กรต่างๆ ในกรณียกิจที่เกี่ยวกับศัลยศาสตร์ตกแต่งเสริมสวย

  4. ควบคุมสมาชิกในการประกอบอาชีพทางศัลยกรรมตกแต่งเสริมสวยให้ถูกต้อง มีคุณภาพสูง มีมาตรฐานอันเดียวกัน และปลอดภัยต่อประชาชน

  5. ส่งเสริม ร่วมมือ ช่วยเหลือ และกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก

  6. เป็นองค์กรที่จะกระชับความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนความรู้กับองค์กร ศัลยแพทย์ตกแต่งเสริมสวยนานาชาติ ทั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

 
 
 

ประวัติสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งเสริมสวยแห่งประเทศไทย

(The Society of Aesthetic Plastic Surgeons of Thailand : ThSAPS)

 

จุดประสงค์ของการก่อตั้งสมาคมฯ

ประมาณปี 1983/2526 ได้มีการปรึกษาหารือระหว่างศัลยแพทย์ตกแต่งในภาคพื้นเอเชียตะวันออก เพื่อการก่อตั้งสมาคมที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกับงานศัลยกรรมตกแต่งเสริมสวยในภูมิภาคนี้  Dr. Sechii Ohmori เป็นบุคคลที่ริเริ่มในเรื่องนี้โดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการในสาขาดังกล่าว ซึ่งมีพื้นฐาน ผิดแผกจากศัลยกรรมตกแต่งเสริมสวยของชาวตะวันตก  ทั้งนี้โดยพิจารณาจากความแตกต่างในรูปลักษณะ และสรีระตลอดจนรสนิยมด้านความสวยงาม (Concept of Beauty) ของคนทางภาคพื้นนี้      

ในระหว่างการประชุมทางวิชาการครั้งแรก คือ The First International Congress of Aesthetic Plastic Surgery of Orientals ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 26-28 ตุลาคม พ.ศ. 1988/2531 โดยมี The Japan Society of Aesthetic Plastic Surgery เป็นเจ้าภาพ  Dr. Sechii Ohmori เป็นประธานคณะกรรมการจัดการประชุม และได้ถือโอกาสเชิญศัลยแพทย์ตกแต่งจากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกประเทศละ 2 คน เข้าเป็นสมาชิก ก่อตั้งสมาคม โดยใช้ชื่อสมาคมว่า The Oriental Society of Aesthetic Plastic Surgery มีคำย่อว่า OSAPS และมี Dr. Sechii Ohmori ทำหน้าที่นายกสมาคมเป็นคนแรก

สำหรับประเทศไทย ศัลยแพทย์ตกแต่งที่ได้รับเชิญเข้าเป็นสมาชิกก่อตั้งคือ นายแพทย์ถาวร จรูญสมิทธิ์ และนายแพทย์ดิลก เปรมัษเฐียร ซึ่งได้เข้าร่วมในการประชุมครั้งนั้น ศัลยแพทย์ตกแต่งจากประเทศไทยหลายท่าน ได้ทราบถึงความคิดริเริ่มก่อตั้งสมาคมนี้มาก่อนจึงได้มีการเตรียมการล่วงหน้า โดยก่อตั้งสมาคมศัลยแพทย์ ตกแต่งเสริมสวยแห่งประเทศไทย (ThSAPS) ตั้งแต่ปี 1985/2528  หรือ 3 ปีก่อนการก่อตั้งสมาคม OSAPS และในโอกาสครั้งนั้นสมาคม ThSAPS ได้ขอรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งที่สอง The Second International Congress of Aesthetic Plastic Surgery for Orientals ในประเทศไทย ณ โรงแรม Central Plaza ลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 2 ธันวาคม 1990/2533 

สืบเนื่องจากการจัดประชุมที่ประเเทศไทย ประเทศสมาชิกจึงได้ถือเป็นหลักปฏิบัติต่อมาจนปัจจุบัน คือประธานของคณะกรรมการจัดการประชุมจะได้เป็นนายกสมาคม OSAPS จนกว่าจะสิ้นสุดการประชุม ครั้งต่อไป และนายแพทย์ถาวร จรูญสมิทธิ์ ก็ได้รับการคัดเลือกให้ทำหน้าที่นายกสมาคมOSAPSเป็นคนที่สอง โดยมี Dr. Kitaro Ohmori เป็นเลขาธิการสมาคม

 

การดำเนินการก่อตั้งสมาคมฯ

            สืบเนื่องจากการปรึกษาหารือระหว่างนายแพทย์ประทีป โภคะกุล และนายแพทย์ถาวร จรูญสมิทธิ์ เป็นผลให้ทั้งสองคนต้องรับภาระในการเชิญศัลยแพทย์ตกแต่งเข้าเป็นสมาชิกก่อตั้งรวมจำนวน 7 ท่าน มีการประชุมครั้งแรกในปี พ.ศ. 1983/2526 ที่คลินิกของนายแพทย์ดิษฐ์พงศ์ ชื่นกำไร โดยสมาชิกก่อตั้ง ที่เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นายแพทย์ดิษฐ์พงศ์ ชื่นกำไร, นายแพทย์ประทีป โภคะกุล, นายแพทย์ถาวร จรูญสมิทธิ์, นายแพทย์ประสาน สุดาจิตร, นายแพทย์มนัส เสถียรโชค, นายแพทย์พูนสุข สมร่าง และนายแพทย์สุรศักดิ์ เมืองสมบัติ ในการประชุมครั้งนั้นได้มีมติให้ นายแพทย์ดิษฐ์พงศ์ ชื่นกำไร เป็นประธานของคณะกรรมการก่อตั้งสมาคม และมีนายแพทย์ประสาน สุดาจิตร เป็นเลขานุการ มีการมอบหมายภาระหน้าที่ให้ นายแพทย์ดิษฐ์พงศ์ ชื่นกำไร รับหน้าที่ในการจดทะเบียนสมาคม และจ้างให้สำนักทนายความ บำรุง สุวิชา และ อดิศักดิ์ เป็นผู้ดำเนินการ

            สำหรับนายแพทย์ประสาน สุดาจิตร เป็นผู้รับผิดชอบการจัดประชุมและบันทึกการประชุม ตลอดจนติดต่อกับนายแพทย์ประณต มิคะเสน เลขาธิการของแพทยสมาคม เพื่อขอใช้สถานที่ตั้งสมาคม กับแพทยสมาคม ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดี ส่วนนายแพทย์ถาวร จรูญสมิทธิ์ เป็นผู้ร่างธรรมนูญ และข้อบังคับของสมาคม

            ชื่อของสมาคมที่ใช้จดทะเบียนกับทางราชการคือ สมาคมศัลยแพทย์เสริมสวยแห่งประเทศไทย หรือ The Society of Aesthetic Surgeons of Thailand และได้รับอนุมัติเป็นสมาคมถูกต้องตามกฎหมายในปี 1985/2528 โดยใช้เวลาดำเนินการสองปี อย่างไรก็ตามได้มีการยื่นขอเปลี่ยนชื่อจากเดิมเป็น สมาคม ศัลยแพทย์ตกแต่งเสริมสวยแห่งประเทศไทย หรือ The Society of Aesthetic Plastic Surgeons of Thailand ตามที่ปรากฏในบันทึกการประชุมครั้งที่ 2/2531 วันที่ 12 กันยายน 1988/2531  ณ ห้องประชุมโรงแรมตะวันนา เชอราตัน ถนนสุริยวงศ์ กรุงเทพมหานคร

 

กิจกรรมของสมาคมฯระหว่างปี 1985/2528 – 1989/2532

            ภายหลังสมาคมฯได้รับการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายแล้ว คณะกรรมการก่อตั้งได้ลงมติเลือกตั้ง คณะกรรมการบริหารชุดแรก ตามบันทึกการประชุมครั้งที่ 1/2528 วันที่ 28 พฤศจิกายน 1985/2528 ณ ประสานคลินิก ถนนพหลโยธิน กรุงเทพมหานคร ผลการเลือกตั้งเป็นดังต่อไปนี้

            นายแพทย์ถาวร จรูญสมิทธิ์         นายกสมาคม

            นายแพทย์ดิษฐ์พงศ์ ชื่นกำไร       อุปนายก

            นายแพทย์ประสาน สุดาจิตร        เลขาธิการ

            นายแพทย์พูลสุข สมร่าง              เหรัญญิก

            นายแพทย์ประทีป โภคะกุล         กรรมการกลาง

            นายแพทย์มนัส เสถียรโชค         กรรมการกลาง

ในการประชุมครั้งที่ 4/2529 วันที่ 17 ตุลาคม 1986/2529 ณ ห้องประชุม ตึกจงกลนีฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  กรุงเทพมหานคร นายแพทย์ดิลก เปรมัษเฐียร ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิก และได้รับการเลือกตั้งให้เป็นกรรมการกลาง เพื่อให้ครบจำนวนกรรมการทั้งหมด 7 คน ตามธรรมนูญ ข้อบังคับของสมาคมฯ

            อนึ่งในการประชุมครั้งนั้น มีเรื่องสำคัญที่ควรบันทึกไว้คือ มีมติรับรองแบบเครื่องหมายของสมาคมฯ (Logo) ที่ผ่านการออกแบบจากช่างศิลป์ โดยยึดถือแนวความคิดผสมสานกันของกรรมการสมาคมฯ

การเลือกตั้งคณะกรรมมการบริหารสมาคมฯชุดที่สอง และ การรับสมาชิกจำนวนมากครั้งแรก

            การประชุมสมาคมครั้งที่ 1/2531 วันที่ 20 ธันวาคม 1987/2531 จัดที่ห้องประชุมของโรงแรมเอเชีย กรุงเทพมหานคร มีวาระที่สำคัญที่ควรบันทึกไว้ดังนี้

1. รับสมาชิกจำนวน 16 ท่าน โดยสมาชิกเหล่านี้เป็นศัลยแพทย์ตกแต่งที่มีคุณวุฒิถูกต้องจากสถาบันต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ศัลยแพทย์ตกแต่งจากต่างประเทศคือ นายแพทย์วิศิษฐ์ บุญนำศิริกิจ จากสหรัฐอเมริกา และนายแพทย์ณรงค์ นิ่มสกุล จากญี่ปุ่น

2. เลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสมาคมฯชุดที่สอง ผลการเลือกตั้งมีดังนี้

            นายแพทย์ประสาน สุดาจิตร         นายกสมาคม

            นายแพทย์มนัส เสถียรโชค          อุปนายก

            นายพทย์ดิลก เปรมัษเฐียร            เลขาธิการ

            นายแพทย์มนตรี กิจมณี                เหรัญญิก

            นายแพทย์ปรีดา จินดา                  กรรมการกลาง

            นายแพทย์จรัญ มหาทุมะรัตน์        กรรมการกลาง

            นายแพทย์ณรงค์  นิ่มสกุล             กรรมการกลาง

และที่ประชุมมีมติแต่งตั้งให้นายแพทย์ถาวร จรูญสมิทธิ์ เป็นที่ปรึกษาสมาคม

3. นายแพทย์ถาวร จรูญสมิทธิ์ และนายแพทย์ดิลก เปรมัษเฐียร ได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบถึงการเข้าร่วม เป็นสมาชิกก่อตั้งของสมาคมOSAPS รวมทั้งวิธีการปฏิบัติและเตรียมตัวในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ จัดประชุมทางวิชาการครั้งที่สองของ OSAPS โดยยังไม่ทราบผลของการพิจารณา

 

การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม The Second International Congress of Aesthetic Plastic Surgery for Orientals  ของสมาคม OSAPS

            การประชุมสมาคมครั้งที่ 2/2532 วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 1989/2532 ณ ห้องประชุมตึกจงกลนีฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่ประชุมได้รับทราบถึงการได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมดังกล่าว โดยนายแพทย์ถาวร จรูญสมิทธิ์ ได้รับการแต่งตั้งจาก OSAPS เป็นประธานของคณะกรรมการจัดการประชุม ในช่วงเวลาเตรียมการประชุมและจัดการประชุม และที่ประชุมยังมีมติรับรองให้จัดการประชุมทางวิชาการ ของสมาคมในประเทศเป็นครั้งแรก เพื่อเป็นการนำร่องการประชุมนานาชาติที่จะมีขึ้นในอนาคต

            การประชุมครั้งแรกในประเทศนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 1989/2532 ณ ห้องประชุมโรงแรมอิมพีเรียล ถนนวิทยุ กรุงเทพมหานครการจัดประชุมคราวนี้ค่อนข้างสมบูรณ์ในเนื้อหา คือ มี Special Lecture, Problems Solving Session, Video Session, Paper Presentation, Poster Presentation และ Medical Instruments Exhibition

 

โครงการของสมาคมฯ

นอกจากนั้น คณะกรรมการบริหารสมาคมฯยังได้ปรึกษาหารือกันถึงโครงการต่างๆ อาทิ 

1. การจัดตั้งศูนย์ประชาสัมพันธ์และบริการของสมาคม โดยมีจุดประสงค์ให้สังคมได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง และส่งเสริมการทำศัลยกรรมตกแต่งเสริมสวยที่ถูกตามหลักวิชาโดยศัลยแพทย์ที่มีคุณวุฒิเป็นที่รับรอง แต่โครงการนี้ก็ไม่มีความคืบหน้าเนื่องจากอุปสรรค์หลายประการ

2. การจัดตั้งห้องสมุดทาง Aesthetic Plastic Surgery โดยให้มีห้องสมุดชั่วคราวที่หน่วยศัลยศาสตร์ตกแต่ง เพื่อรวบรวมวารสาร ตำรา และ Video ทางด้านนี้ขึ้นเพื่อให้สมาชิกของสมาคมฯได้ศึกษา และให้สมาคมฯ บอกรับเป็นสมาชิกของวารสาร Journal of Aesthetic Surgery

3. ที่ประชุมมีมติให้เตรียมจัด Workshop in Aesthetic Surgery ระดับนานาชาติในอนาคต หลังจากการจัดประชุม ครั้งที่สองของ OSAPS ผ่านพ้นไปแล้ว

4. สมาคมฯ ได้เปิดเว็บไซด์  www.surgery.or.th  เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ด้านวิชาการด้าน ศัลยกรรมตกแต่งเสริมสวยให้กับประชาชน และ สื่อมวลชนที่สนใจได้เข้ามาเยี่ยมชม และใช้อ้างอิง

 

สรุปความร่วมมือของสมาคมฯกับต่างประเทศ

ในด้านความร่วมมือกับต่างประเทศ สมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งเสริมสวยแห่งประเทศไทย (ThSAPS) ได้เข้าร่วมเป็นภาคีของสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่ง เสริมสวยภาคพื้นตะวันออก  (The Oriental Society of Aesthetic Plastic Surgery : OSAPS) ตั้งแต่ปี1988/2531 และยังเป็นภาคีของสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่ง เสริมสวยนานาชาติ (The International Society of Aesthetic Plastic Surgery : ISAPS)  ตั้งแต่ก่อนปี 2008/2551 โดยสนับสนุนให้สมาชิกของสมาคมฯสมัครเป็นสมาชิกของทั้งสองสมาคมนี้ต่อเนื่องมาโดยตลอด ซึ่งทั้งสมาคมฯ และสมาชิก ได้มีบทบาทในการเป็นเ้จ้าภาพจัดการประชุมวิชาการขนาดย่อย และ การประชุมใหญ่ อีกทั้งสมาชืกของสมาคมฯหลายคน ก็ได้ทำหน้าที่เป็นกรรมการบริหาร และ อนุกรรมการ   ของสมาคม OSAPS และ ISAPS ในหลายวาระ อาทิ

การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม

  • ปี 1990/2533 เจ้าภาพจัดการประขุม 2th Internation al Congress of OSAPS ณ   โรงแรมเซ็นทรัลลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 27 พย.- 2 ธค.1990/2533 โดยมี นพ.ถาวร จรูญสมิทธิ์ เป็นประธานคณะกรรมการจัดการประชุม

  • ปี 2004/2547 เจ้าภาพจัดการประขุม 9th International Congress of OSAPS ณ โรงแรมแชงกรีลา กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 6-8 ธันวาคม 2547 โดยมี นพ.มนัส เสถียรโชค เป็นประธานคณะกรรมการจัดการประชุม มีผู้เข้าร่วมประชุม 600 คน มีการเริ่มตันนำเอาหลัก Minimal Invasive Surgery มาแสดงให้สมาชิกดู และในวาระเดียวกันนี้ยังเป็น เจ้าภาพจัดการประชุม 

  • The First Live SRS (Sex Reassignment Surgery) Workshop 2004 ณ โรงพยาบาล BNH สาธร กรุงเทพมหานคร โดยมี ผศ.นพ.ปรีชา เตียวตรานนท์ เป็นประธานคณะกรรมการจัดการประชุมอบรม

  • ปี 2014/2557 เจ้าภาพจัดการประขุม 14th International Congress of OSAPS  ณ ศูนย์ประชุมพีช โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท พัทยา จ.ชลบุรี   ระหว่างวันที่ 27-29 ตุลาคม 2557 โดยมี ผศ.พล.อ.ต. นพ.กมล วัฒนไกร  เป็นประธานคณะกรรมการจัดการประชุม  มีผู้เข้าร่วมประชุม 460 คน และในวาระเดียวกันนี้ยังเป็น เจ้าภาพจัดการประชุม ISAPS Symposium 2014 โดยมี นพ.สงวน คุณาพร เป็นผู้ประสานงานจัดการประชุม

  • ปี 2017/2560 เจ้าภาพจัดการประชุม ISAPS Symposium Bangkok 2017 ร่วมกับการประชุม 18th ASEAN Congress of Plastic Surgery (ACPS) วันที่ 8-10 มีค. 2560  โดยมี นพ.สงวน คุณาพร เป็นผู้ประสานงานจัดการประชุม และในการประชุมครั้งนี้นับเป็นครั้งประวัติศาสตร์ที่สามารถเชิญให้ตัวแทนของประเทศทั้ง 10 ประเทศใน ASEAN มาร่วมประชุมครบเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มีการประชุม ACPS เป็นต้นมา 

สมาชิกที่มีบทบาทในสมาคม ISAPS และ OSAPS

OSAPS

  • ปี 1991-93 (2534-36)       นพ.ถาวร จรูญสมิทธิ์ ดำรงตำแหน่งนายกสมาคม OSAPS

  • ปี 2005-07(2548-50)        นพ.  ดำรงตำแหน่งนายกสมาคม OSAPS

  • ปี 2015-17(2558-60)        ผศ.พล.อ.ต. นพ.กมล วัฒนไกร ดำรงตำแหน่งนายกสมาคม OSAPS

ISAPS

  • ปี 2008-10 (2551-53)  พญ.ทองทิพย์ พงศทัต ทำหน้าที่คณะกรรมการ ISAPS Medical Tourism committee

  • ปี 2004-10 (2547-53)  รศ.นพ.จรัญ มหาทุมะรัตน์ ทำหน้าที่เป็น Thailand National Secretary และคณะกรรมการ ISAPS Educational council committee Member of Editorial Board of ISAPS Journal of Aesthetic Plastic Surgery

  • ปี 2010-16 (2553-59)  นพ.สงวน คุณาพร ทำหน้าที่เป็น Thailand National Secretary

  • ปี 2014-16 (2557-59)  นพ.สงวน คุณาพร ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการ ISAPS Educational council committee

  • ปี 2016-18 (2559-61)  ผศ.พล.อ.ต. นพ.กมล วัฒนไกร เป็น Thailand National Secretary

  • ปี 2016-18 (2559-61)  นพ.สงวน คุณาพร ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการ ISAPS Membership  committee นพ.สงวน คุณาพร ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการ ISAPS Patient Safety committee

  • ปี 2017 (2560)            นพ.สงวน คุณาพร ทำหน้าที่เป็นCourse Director of 1st ISAPS Symposium Vietnam 2017        

 
 

คณะกรรมการบริหาร

 

นายกสมาคม

นายแพทย์อภิรักษ์ ช่วงสุวนิช

Apirag Chuangsuwanich , M.D.

 

อุปนายก

นายแพทย์เกรียงศักดิ์ ศิริรักษ์
Kriangsak Sirirak, M.D.

 

เลขาธิการ

นายแพทย์กิดากร กิระนันทวัฒน์
Kidakorn Kiranantawat, M.D.


 

ผู้ช่วยเลขาธิการ

แพทย์หญิงวรางคณา ตันอารีย์

Warangkana Tonaree, M.D.

 
 

คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ

 

นายกสมาคม

นายแพทย์อภิรักษ์ ช่วงสุวนิช

อุปนายก

นายแพทย์เกรียงศักดิ์ ศิริรักษ์

เลขาธิการ

นายแพทย์กิดากร กิระนันทวัฒน์

ผู้ช่วยเลขาธิการ

แพทย์หญิงวรางคณา ตันอารีย์

เหรัญญิก

นายแพทย์สมชาย วงษ์ประกอบ

วิชาการ

นายแพทย์วิษณุ โล่ห์สิริวัฒน์

ผู้ช่วยวิชาการ

แพทย์หญิงพิตะวัน ราชตา

วิเทศสัมพันธ์

แพทย์หญิงพูนพิศมัย สุวะโจ

ผู้ช่วยวิเทศสัมพันธ์

นายแพทย์พีรศักดิ์ ฉอตระการกิจ

สมาชิกสัมพันธ์

นายแพทย์พรเทพ พึ่งรัศมี

ผู้ช่วยสมาชิกสัมพันธ์

นายแพทย์ธนา เชื้อบัณฑิต

ประชาสัมพันธ์

นายแพทย์ธนะสิทธิ์ ก้างกอน

ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์

นายแพทย์ชัยรัตน์ บุรุษพัฒน์

ผู้แทนภาคตะวันออก

นายแพทย์พิชาญศักดิ์ บุญมาศ

ผู้แทนภาคเหนือ

แพทย์หญิงวิมล ศิริมหาราช

ผู้แทนภาคใต้

แพทย์หญิงอรวรรณ ชาญสันติ

ผู้แทนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

นายแพทย์พลากร สุระกุลประภา