บาดแผลและแผลเป็น เป็นเรื่องเล็กหรือใหญ่

ศัลยกรรมตกแต่งไม่ได้ทำแต่ให้คนที่ปกติดูสวยงามขึ้นแต่ยังดูแลรักษาผู้ที่ประสบปัญหาเรื่องบาดแผลหรือแผลเป็นให้หายโดยที่ทิ้งร่องรอยน้อยที่สุด หรือ หายได้ในเวลาที่เหมาะสม โดยมีผลตามหลังที่ไม่ดีเช่น แผลเป็นหรือความพิการที่น้อยที่สุด ในบทความนี้จะแยกเป็น ตอน ๆ นะครับ

แผลทุกแผลมีการดูแลรักษาเหมือนกันไหม...???

บาดแผลทุกชนิดมีการรักษาคล้ายกันคือ การรักษาการติดเชื้อ ตัดเนื้อตายและสิ่งแปลกปลอม ป้องกันไม่ให้แผลแห้งหรือเละมากเกินไป ถ้าเป็นบาดแผลจากอุบัติเหตุ การพยายามเย็บปิดแผลจะทำให้บาดแผลหายได้เร็วขึ้นโดยมีแผลน้อย แต่ถ้าเป็นแผลที่มีสาเหตุไม่ชัดเจน โดยเฉพาะที่เกิดในคนที่เป็นเบาหวาน แขนขาที่มีเส้นเลือดไม่ดี หรือผู้ป่วยติดเตียง อาจจะต้องมีการดูแลเพิ่มเติมเป็นพิเศษ เฉพาะสาเหตุของการเกิดแผล และที่สำคัญแผลไหนที่เป็นมานานทำอย่างไรก็ไม่หาย ต้องคิดว่าอาจจะเป็นแผลมะเร็งก็ได้นะครับ

Figure 1 แผลเนื้อตายสีดำและได้รับการตัดออกปลุกหนัง

Figure 1 แผลเนื้อตายสีดำและได้รับการตัดออกปลุกหนัง

 Figure 2แผลอุบัติเหตุมีแผลฉีดขาด เนื้อหายและแผลถลอก ได้รับการเย็บ ปลุกหนังและเอาสิ่งแปลปลอมออก แผลหายได้ภายใน 1 สัปดาห์

 Figure 2แผลอุบัติเหตุมีแผลฉีดขาด เนื้อหายและแผลถลอก ได้รับการเย็บ ปลุกหนังและเอาสิ่งแปลปลอมออก แผลหายได้ภายใน 1 สัปดาห์


รักษาแผลมานาน แผลยังไม่หาย จะทำอย่างไรดี...???

บาดแผลเปิด ถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี จะมีการลดขนาดของแผลลง 15% ทุก 1-2 สัปดาห์ ดังนั้นถ้าบาดแผลไม่ได้มีการลดขนาดดังที่กล่าวแล้ว อาจจะมีการดูแลรักษาที่ยังไม่เหมาะสม หรือมีสาเหตุที่ยังไม่ได้รักษา เช่น แผลมะเร็ง แผลเบาหวาน แผลขาดเลือด หรือ แผลกดทับ เป็นต้น ดังนั้นควรจะปรึกษาแพทย์ที่เชี่ยวชาญในการดูแลบาดแผล เพื่อจะได้รับการดูแลที่เหมาะสมต่อไป

Figure 3 แผลเท้าเบาหวานขาดเลือด

Figure 3 แผลเท้าเบาหวานขาดเลือด

Figure 4 แผลกดทับที่มีเนื้อตาย

Figure 4 แผลกดทับที่มีเนื้อตาย

ถ้าได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมแล้ว แผลยังไม่ดีขึ้นจะทำอย่างไรดี...???

บาดแผลที่ไม่หายเกิน 8 อาทิตย์ ถือว่าเป็นแผลเรื้อรัง หรือแผลหายยาก แผลเรื้อรังเช่น แผลเบาหวาน แผลกดทับ หรือ แผลขาดเลือด จะต้องได้รับการดูแลที่สาเหตุ เช่น คุมน้ำตาลในเลือด ลดแรงกดทับที่เท้า เช่นเดียวกันกับแผลกดทับ แผลขาดเลือด ก็ต้องหาทางให้มีเลือดไปเลี้ยงส่วนที่เป็นแผล นอกจากนี้จะมีการใช้การรักษาอื่น เช่น 

  1. การใช้ Growth Factor เป็นตัวที่จะเพิ่มการแบ่งตัวของเซลล์ ที่จำเป็น ที่จะทำให้แผลหายได้ ทำให้แผลหายได้ดีขึ้น

  2. การใช้ออกซิเจน ความดันสูง หรือ เฉพาะที่ มีประโยชน์ในแผลขาดเลือด

  3. การใช้พลาสม่าที่ความดันต่ำและอุณหภูมิต่ำ

เทคโนโลยีนี้เป็นความรู้ใหม่ที่นำมาใช้ในการดูแลบาดแผล ดังนั้นจะขอกล่าวถึงรายละเอียดให้มากขึ้น ดังนี้นะครับ

เมื่อกล่าวถึงพลาสม่า คนทั่วไปอาจคิดถึงโทรทัศน์  แพทย์อาจคิดถึงส่วนประกอบในเลือด แต่พลาสม่าในที่นี่หมายถึง สถานะหนึ่งของสสาร โดยทั่วไปเราจะได้ยินว่า สสารมี 3 สถานะ คือของแข็ง ของเหลว และก๊าซ แต่ความจริงแล้วจะมีสถานะที่4 คือ พลาสม่า ซึ่งเป็นภาวะที่ก๊าซแตกตัวเป็นอิเล็กตรอนอิออนของก๊าซ รังสีอัลตร้าไวโอเลต ฯ 

 
Figure 5  สถานะของสสาร

Figure 5  สถานะของสสาร

 
 
Figure 6 ส่วนประกอบของพลามา

Figure 6 ส่วนประกอบของพลามา

 

ในภาวะธรรมชาติ ภาวะที่เกิดพลาสม่าก็เช่น ฟ้าแล่บ เป็นต้น พลาสม่ามักจะมีความร้อนสูง จึงถูกนำมาใช้ในทางอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่

พลาสม่าเย็นหรืออุณหภูมิต่ำถูกพัฒนาขึ้นมาประมาณ 10+ ปี พบว่าสามารถทำลายเชื้อเกือบทุกชนิดได้ดี กระตุ้นให้มีการงอกของหลอดเลือดและการสร้าง Growth Factor ที่มีประโยชน์ในการทำให้แผลหาย จึงได้มีการนำไปรักษาบาดแผลติดเรื้อรัง และพบว่าได้ผลดี แต่เทคโนโลยีนี้ยังไม่ได้เผยแพร่อย่างแพร่หลาย และเป็นความรู้ที่ค่อนข้างใหม่ จึงยังไม่เป็นที่รู้จักในแพทย์ทั่วไป

แต่เป็นโอกาสดีของคนไทยที่จะได้เข้าถึงเทคโนโลยีนี้ได้อย่างทั่วถึงขึ้น เพราะมีการสนับสนุนเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นโดยคนไทย โดยหน่วยงานของรัฐบาลคือ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตาม ต้องร่วมกับคณะแพทย์ พยาบาล ที่มีความรู้ในการดูแลบาดแผลอย่างดีด้วยนะครับ

Figure 7  เครื่องพลาสมาอุณหภูมิต่ำที่ผลิตในไทย

Figure 7  เครื่องพลาสมาอุณหภูมิต่ำที่ผลิตในไทย

Figure 8 แผลกดทับที่รักษาด้วยพลาสมาอุณหภูมิต่ำ

Figure 8 แผลกดทับที่รักษาด้วยพลาสมาอุณหภูมิต่ำ

โปรดติดตามความรู้เรื่องแผลเป็นในตอนต่อไปนะครับ

ศ.นพ.อภิรักษ์ ช่วงสุวนิช

ThPRS of Thailand