ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการผ่าตัดเสริมเต้านม

ปัจจัยของผู้รับการผ่าตัดที่ใช้พิจารณาเพื่อผลการผ่าตัดที่ดี

  • รูปร่างผู้รับการผ่าตัด ผอม, ปกติ, ค่อนข้างอ้วน หรือ อ้วน ซึ่งส่งผลให้ เนื้อหรือชั้นไขมันบริเวณหน้าอกและเต้านมบาง หนา แตกต่างกัน เนื้อ บางก็อาจจะคลำพบขอบเต้านมเทียมได้ง่าย

  • คุณภาพ,ความตึงตัว, การคืนตัวของผิวหนังของผู้รับการผ่าตัด คนที่ไม่ เคยมีบุตรและไม่ลดน้ำหนักมามาก คุณภาพของผิวหนังมักจะดี เต่งตึง เต้านมมักไม่หย่อนคล้อย ผลการผ่าตัดจะได้ผลดี แต่อาจเสริมได้ไม่ ใหญ่มาก

  • ผู้ที่วางแผนจะมีบุตรภายใน 1 ปี หรือ คุณแม่ที่ยังหยุดให้นมบุตรไม่ถึง 6 เดือน ควรเลื่อนการผ่าตัดไปก่อน

  • ส่วนคนที่มีบุตรมาก่อน หรือลดน้ำหนักมามาก ผิวหนังอาจสูญเสียความตึงตัว หรือมี แตกลายงา แต่จะยืดได้มาก สามารถเสริมให้ใหญ่ได้มากๆ แต่ต้องตระหนักว่ายิ่ง เสริมใหญ่มาก ก็มีโอกาสที่เต้านมจะหย่อนคล้อยเร็วขึ้นในอนาคต อาจจะภายใน เดือนหรือปี

  • ในบางครั้งผู้รับการผ่าตัดอาจมีเต้านมหย่อนคล้อย โดยเฉพาะกลุ่มที่มีบุตรมาก่อน หรือลดน้ำหนักมามาก การเสริมเต้านมอย่างเดียวอาจไม่ได้ผลดี หลังผ่าตัดเต้านมมี ขนาดใหญ่ขึ้น แต่รูปทรงจะไม่สวยงาม เช่น นมยิ่งหย่อนคล้อยมากขึ้น หัวนมยังอยู่ต่ำ หัวนมชี้ลงล่าง เป็นต้น อาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดยกกระชับเต้านมควบคู่ไปด้วย

  • ผู้รับการผ่าตัดบางคนมีเต้านมสองข้างไม่เท่ากัน จำเป็นต้องใช้เต้านมเทียมขนาดต่าง กันในแต่ละข้าง หรืออาจจะต้องมีการผ่าตัดยกกระชับเต้านมข้างที่หย่อนคล้อยร่วมด้วย

การวางแผนผ่าตัด

  • ศัลยแพทย์จะต้องให้เวลาเพื่อทำความเข้าใจกับผู้รับการผ่าตัดให้แจ่มแจ้งถึง ความต้องการและความคาดหวังผลการผ่าตัด ซึ่งส่งผลต่อความสำเร็จเป็นอย่าง มาก

  • ผู้รับการผ่าตัดต้องแจ้งประวัติสุขภาพ, รวมทั้งประวัติการผ่าตัดก่อนหน้า และ การแพ้ยา ฯลฯให้ศัลยแพทย์ทราบโดยละเอียด

  • ศัลยแพทย์ต้องประเมินสภาพเต้านม, วัดค่าระยะต่างๆของเต้านมให้ผู้รับการ ผ่าตัดลองใส่เต้านมเทียมขนาดต่างๆในยกทรง หรืออาจใช้ โปรแกม 3 มิติ สร้างภาพเต้านมหลังผ่าตัด รวมทั้งกำหนดแผลผ่าตัด, ช่องโพรงที่อยู่ของเต้านม เทียม ทั้งหมดเพื่อตัดสินว่าจะใช้เต้านมเทียมชนิดใด ขนาดใดที่จะเหมาะและ ตรงหรือใกล้เคียงความคาดหวังของผู้รับการผ่าตัดมากที่สุด

 
ภาพตัวอย่างการวางแผนก่อนผ่าตัดด้วยภาพจำลอง

ภาพตัวอย่างการวางแผนก่อนผ่าตัดด้วยภาพจำลอง

 

ปัจจัยที่ผู้รับการผ่าตัดต้องทราบ

  • แผลผ่าตัด : ใต้ฐานนม, ปานนม หรือ รักแร้

  • ช่องโพรงที่อยู่ของเต้านมเทียม : เหนือกล้ามเนื้อ, ใต้กล้ามเนื้อ หรือ Dual plane / Split muscle

  • เต้านมเทียม : ยี่ห้อ/แบรนด์

  • เต้านมเทียม/ขนาด : จำนวนซีซี

  • ข้อมูลเต้านมเทียม : ฉลากหรือชิป

  • เต้านมเทียม/บรรจุด้วย : ซิลิโคนเจล หรือ น้ำเกลือ

  • เต้านมเทียม/ผิว : เรียบ, ขรุขระแบบ หยาบ, ขรุขระแบบละเอียด หรือเกือบ เรียบคล้ายไหม, เคลือบPolyurethane

  • เต้านมเทียม/รูปทรง : กลมหรือหยดน้ำ

  • เต้านมเทียม/ทรง : ต่ำ, ปานกลาง, สูง หรือ สูงมาก

แผลผ่าตัด

ข้อดี

  • ใต้ฐานนม : เห็นบริเวณที่ทำผ่าตัดได้ ชัดเจนที่สุด, ความแน่นอนในการผ่าตัด สูง, อาการปวด/บวมหลังผ่าตัดน้อย, และเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการผ่าตัด แก้ไขต่างๆ

  • ปานนม : แผลเห็นไม่ชัด, เป็นทางเลือก ที่ดีหากต้องยกระดับหัวนมสูงขึ้น หรือลด ขนาดปานนมให้เล็กลงในคราวเดียวกัน

  • รักแร้ : หากเกิดแผลเป็น จะไม่เห็น บริเวณเต้านม

ข้อด้อย

  • ใต้ฐานนม : หากเกิดแผลเป็น จะเห็น ได้ง่าย

  • ปานนม : ต้องผ่าตัดผ่านเข้าไปในเนื้อ เต้านมทำให้มีโอกาสที่น้ำนมปนเปื้อน บริเวณผ่าตัดสูงกว่าทางแผลอื่น

  • รักแร้ : ต้องใช้กล้องช่วยในการผ่าตัด, ศัลยแพทย์ต้องมีประสบการณ์ผ่าตัดสูง, ผ่าตัดแบบ Dual plane ยาก, ไม่ เหมาะจะใส่เต้านมเทียมแบบหยดน้ำ เพราะมีโอกาสผิดรูป

ช่องโพรงที่อยู่ของเต้านมเทียม

ข้อดี

  • เหนือกล้ามเนื้อ : ไม่มีการรบกวนกล้ามเนื้อ • หน้าอก, เลือดออกระหว่างผ่าตัดน้อย, โอกาส เกิดเลือดคั่งหลังผ่าตัดน้อย, เต้านมเทียมไม่ เด้งขึ้นลงตามการเกร็งกล้ามเนื้อ, หวังผลให้ เต้านมชิดกันได้ง่าย

  • ใต้กล้ามเนื้อ : มีชั้นกล้ามเนื้อหนาขึ้นอีกชั้น หนึ่งช่วยปกป้องเต้านมเทียม, ทำให้ดูเป็นธรรมชาติโดยเฉพาะบริเวณเนินหน้าอก, โอกาสเกิดพังผืดรัดตัวน้อยกว่า

  • Dual plane / Split muscle : รวมข้อดีของ สองวิธีแรก

ข้อด้อย

  • เหนือกล้ามเนื้อ : สำหรับผู้ที่มี ผิวหนังหน้าอกบาง เต้านมจะดูไม่ เป็นธรรมชาติ, โอกาสเกิดพังผืด รัดตัวมากกว่า

  • ใต้กล้ามเนื้อ : หวังผลยากที่จะให้ เต้านมชิดกัน, เต้านมเทียมอาจเด้งขึ้นลงตามการเกร็งกล้ามเนื้อ,

  • Dual plane : ค่อนข้างยากหาก ผ่าตัดทางรักแร้

เต้านมเทียม/บรรจุด้วย

ข้อดี

  • ซิลิโคนเจล : สำเร็จรูป สะดวกต่อการใช้, ไม่ต้องมี การเติมน้ำเกลือบรรจุระหว่าง ผ่าตัด, ให้สัมผัสที่เป็น ธรรมชาติกว่า

  • น้ำเกลือ: ไม่มีซิลิโคนเจลรั่ว ซึมซึ่งอาจจะนำไปสู่โรค แทรกซ้อน

ข้อด้อย

  • ซิลิโคนเจล : มีโอกาสที่ซิลิโคน เจลรั่วซึมและนำไปสู่โรคแทรกซ้อน, รวมทั้งกลุ่มอาการที่เรียก Breast implant illness

  • น้ำเกลือ: มีความยุ่งยากขึ้นใน การฉีดบรรจุเข้าในเต้านมเทียม ระหว่างผ่าตัดและมีโอกาสปน เปื้อนน้ำเกลือ, รั่วซึมได้

เต้านมเทียม/ผิว

ข้อดี

  • เรียบ : ใส่ง่าย, ทำให้แผลผ่าตัดสั้น

  • ขรุขระแบบหยาบ : หลังใส่แล้วเต้านมเทียมจะไม่เคลื่อนหรือหมุน,โอกาสเกิดพังผืดรัดตัวต่ำ

  • ขรุขระแบบละเอียด : หลังใส่แล้วโอกาสที่ เต้านมเทียมจะเคลื่อนหรือหมุนไมสูงมากใน ตอนแรก, โอกาสเกิดพังผืดรัดตัวไม่สูง

  • เกือบเรียบคล้ายผ้าไหม : มีการอ้างว่าไม่เกิด พังผืดรัดตัว และเต้านมนิ่มนวลเป็นธรรมชาติ

  • เคลือบPolyurethane : หลังใส่แล้วเต้านม เทียมจะไม่เคลื่อนหรือหมุนเลย, โอกาสเกิด พังผืดรัดตัวต่ำ

ข้อด้อย

  • เรียบ : มีเฉพาะทรงกลม, โอกาสเกิดพังผืดรัดตัวสูง

  • ขรุขระแบบหยาบ : มีอุบัติการณ์เกิดโรคมะเร็งชนิด BIA-ALCL สูง

  • ขรุขระแบบละเอียด : มีอุบัติการณ์เกิดโรคมะเร็งชนิด BIA-ALCL ต่ำ

  • เกือบเรียบคล้ายผ้าไหม : มีการอ้างว่าไม่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งชนิด BIA-ALCL

  • เคลือบPolyurethane : มีอุบัติการณ์เกิดโรคมะเร็งชนิด BIA-ALCL สูงมาก

เต้านมเทียม/รูปทรง

ข้อดี

  • กลม : วางแผนผ่าตัดง่าย, เปิดแผลผ่าตัดเล็ก, ไม่มีโอกาสหมุนจนผิด รูปภายหลัง

  • หยดน้ำ : เหมาะกับคนที่ชอบรูปทรง เต้านมธรรมชาติ ไม่ต้องการ ให้เนิน บนของเต้านมนูนเกินไป, คนที่กรอบ หน้าอกไม่สมมาตรคือความกว้างกับ ความสูงต่างกันมาก, คนที่เต้านม หย่อนเล็กน้อยและไม่ถึงกับต้องทำ ผ่าตัดยกกระชับเต้านมและหัวนม

ข้อด้อย

  • กลม : ไม่เหมาะกับคนที่หน้าอกแบนราบ เพราะอาจทำให้เต้านมดูคล้ายลูกบอลไม่ เป็นธรรมชาติ, ถ้าใช้กับคนที่กรอบ หน้าอกไม่สมมาตร เต้านมสองข้างอาจ จะอยู่ห่างจนทำให้ร่องอกตรงกลางกว้าง หรืออีกแบบหนึ่งคือส่วนหน้าอกจากใต้ ไหปลาร้าจนถึงส่วนยอดของเต้านมจะ แบนและกินพื้นที่กว้างมาก

  • หยดน้ำ : เนื้อซิลิโคนเจลจะหนืดหรือกว่า หรือนุ่มนวลน้อยกว่า, มีเฉพาะแบบผิว ขรุขระอาจจะมีโอกาสเกิด BIA-ALCL, มี โอกาสหมุนจนเต้านมผิดรูปภายหลัง

เต้านมเทียม/ความสูง (หรือความพุ่ง)

ข้อดี

  • ต่ำ : เส้นผ่าศูนย์กลาง(ผ.ศ.)เต้านมเทียมกว้างที่สุด และ เหมาะกับคนที่กรอบหน้าอกกว้างแต่ต้องการเสริมน้อย

  • ปานกลาง : เส้นผ.ศ.ของเต้านมเทียมไม่กว้างมาก ชดเชยด้วยความสูงของเต้านมเทียม เหมาะกับคนที่ กรอบหน้าอกปกติ และต้องการเสริมให้ดูเป็นธรรมชาติ, เหมาะในกรณีทำคู่กับผ่าตัดยกกระชับเต้านม

  • สูง : เส้นผ.ศ.ของเต้านมเทียมแคบในขณะที่ความสูง ของเต้านมเทียมมีมาก ใช้บ่อยกับคนที่ต้องการเสริม ใหญ่มาก และอาจดูไม่ค่อยเป็นธรรมชาติ

  • สูงมาก : เส้นผ่าศูนย์กลางของเต้านมเทียมแคบมาก ที่สุดรวมทั้งความสูงของเต้านมเทียมก็มากที่สุด จะเลือก • ใช้กรณีที่ต้องการเสริมใหญ่จนอาจเกินปกติ และดูไม่ เป็นธรรมชาติมาก

ข้อด้อย

  • ต่ำ : อาจจะดูเหมือนไม่ได้ ทำผ่าตัดเสริมเต้านมมา

  • ปานกลาง : เต้านมจะดูไม่พุ่ง

  • สูง : อาจดูไม่เป็นธรรมชาติ

  • สูงมาก : ดูไม่เป็นธรรมชาติ

ภาวะแทรกซ้อนหรือไม่พึงประสงค์

  • เกิดภายหลังผ่าตัด 24-48 ชม. เช่น เลือดคั่งในช่องโพรงที่ใส่ เต้านมเทียม อาจต้องนำเข้าห้องผ่าตัดใหม่เพื่อนำเอาเลือดคั่ง ออก ป้องกันภาวะไม่พึงประสงค์ภายหลัง เช่น การติดเชื้อ หรือ พังผืดรัดตัว เต้านมผิดรูป เป็นต้น พบอุบัติการณ์ประมาณ 1%

  • เกิดภายหลังผ่าตัดไปแล้ว 1 - 4 อาทิตย์ เช่น แผลผ่าตัดติดเชื้อ น้ำเหลืองคั่งในช่องโพรงที่ใส่เต้านมเทียม พบอุบัติการณ์น้อย กว่า 1% ป้องกันและรักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ หรือ เจาะดูด เอาน้ำเหลืองออก เพื่อป้องกันภาวะไม่พึงประสงค์ภายหลังเช่นกัน

  • เกิดภายหลังผ่าตัดไปแล้ว 1- 12 เดือน เช่น พังผืดรัดตัว, เต้านม เทียมตกไปด้านข้าง หรือด้านล่าง มากเกินไป หรือที่เกิดน้อยกว่า คือเต้านมเทียมเลื่อนขึ้นด้านบนมากเกิน หรือ เต้านมเทียมชิดกัน เกินไปจนกลายเป็นนมแฝด มักจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข

  • อาการชา หรือ ไวต่อความรู้สึกมากผิดปกติ บางบริเวณของเต้า นม เช่น หัวนม ด้านล่างของเต้านม อาการเหล่านี้มักจะดีขึ้นเอง

  • เกิดภายหลังผ่าตัดไปแล้ว 1- 10 ปี เช่น พังผืดรัดตัว, น้ำเหลืองคั่งเรื้อรัง, เต้านมเทียมแตกหรือรั่ว จำเป็นต้องตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ จำเป็น ต้องให้การวินิจฉัยหาสาเหตุ และอาจต้องรับการผ่าตัดเลาะพังผืดออก รวม ทั้งเปลี่ยนเต้านมเทียมใหม่

  • โรคมะเร็งระบบน้ำเหลืองบางชนิดที่เกิดคู่กับเต้านมเทียม เรียกว่า BIA-ALCL (Breast implant associated-Anaplastic Large Cell Lymphoma) เกิดเฉพาะกับผู้ที่ใช้เต้านมเทียมแบบขรุขระ ซึ่งแต่ละยี่ห้อ/ แบรนด์ มีอุบัติการณ์ต่างกันมาก อยู่ที่ 1:3,000 จนถึง 1:80,000 ต้องรักษา ด้วยการผ่าตัดเลาะเอาพังผืดรอบเต้านมเทียมออกให้หมด และ เอาเต้านม เทียมออกโดยไม่ใส่ใหม่ โอกาสหายขาดสูงมาก

  • อาการไม่สบายที่เกิดคู่กับการเสริมเต้านมเทียม เรียกว่า BII หรือ Breast Implant Illness เช่น อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตัว ปวดหัว ปวดตามข้อ ปวดเต้านม ผื่นแพ้ตามร่างกาย ฯลฯ โดยไม่สามารถ ตรวจพบความผิดปกติอย่างชัดเจน รวมทั้งการตรวจอื่นๆทางห้อง ปฏิบัติการ อาการต่างๆอาจจะดีขึ้นหรือหายไปหากรับการผ่าตัด เอาเต้านมเทียมออกโดยไม่ใส่ใหม่ แต่ไม่เสมอไป

นพ.สงวน คุณาพร

ThPRS of Thailand