เจาะคําถามเด็ด!!! เพื่อเต้านม ที่ลงตัว Part 2

การเสริมหน้าอก โดยไม่ง้อเต้านมเทียม

เหมาะสมหรือไม่ ? ที่ใช้ไขมันฉีดเสริม

การดูดไขมันมาฉีดเต้านมสามารถเพิ่มความหนาและขนาดของเนื้อเต้านมได้บ้าง โดยเฉพาะความหนาของชั้นใต้ผิวหนัง แต่อย่างไรก็ดี ไขมันที่นํามาฉีดมีการยุบสลายตัวลงแน่นอน เช่น ฉีดไป 300 ซีซี อาจยุบลง 30-70% ขึ้นอยู่กับเทคนิคการฉีดและปริมาณเซลล์ของแต่ละบุคคล แต่หากเสริมด้วยซิลิโคน 300 ซีซี ก็ย่อมอยู่ 300 ซีซี แน่นอน แต่ในแง่ความเป็นธรรมชาตินั้น ไขมันย่อมจะเป็นธรรมชาติมากกว่า เพียงแต่ไม่สามารถจะเพิ่มขนาด เช่น จากคัพ A เป็นคัพ D ได้ หรือเพิ่มรอบอกจาก 30 นิ้ว เป็น 36 นิ้วได้

ปัจจุบันเทคนิคและเทคโนโลยีการเตรียมไขมันนั้นยังคงพัฒนาต่อไป คําว่าสเต็มเซลล์ (stemcell) อาจเป็นคําที่ดูโฆษณาเกินจริงไปบ้าง รวมทั้งยังไม่สามารถทําให้ผลการรักษาคงที่ และการันตีได้

การฉีดไขมันที่เต้านมใช้ในกรณีไหนได้อีกบ้าง ?

ความจริงนั้น เทคนิคการฉีดไขมัน (lipofilling, lipotransfer) เป็นเทคนิคที่ทํามานานกว่า 50 ปีแล้ว ไม่ใช่เรื่องใหม่ หรือน่าตื่นเต้นแต่อย่างใด สามารถนํามาใช้ร่วมกับการเสริมเต้านมด้วยซิลิโคนก็ได้ หรือนํามาใช้ฉีด แก้ไขภาวะไม่พึงประสงค์หลังการผ่าตัดเต้านม เช่น เนื้อเต้านมบาง ผิวเป็นลอน คลําได้ขอบ หรือเกิดพังผืด เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นว่าเทคนิคการฉีดไขมัน สามารถทำได้อย่างมีประโยชน์ แต่ต้องเลือกใช้ในกรณีที่เหมาะสม และไม่โฆษณาเกินจริง

การฉีดฟิลเลอร์เพิ่มขนาดเต้านม อันตรายอย่างไร ?

ฟิลเลอร์ที่ถูกเติมบริเวณเต้านม ถือว่าอันตรายมาก แตกต่างจากการเติมฟิลเลอร์ที่ใบหน้า เนื่องจากหากต้องฉีดเพิ่มขนาดเต้านมแล้วนั้น ต้องฉีดเป็นปริมาณมาก และฟิลเลอร์มักไม่สามารถสลายเองได้ แต่จะตกค้าง และทำปฏิกิริยากับเนื้อเต้านม กล้ามเนื้อและผิวหนังบริเวณทรวงอก จนเกิดการอักเสบไม่ว่าจะเป็นในระยะสั้นหรือระยะยาว

หลายกรณี คนไข้ต้องลงเอยด้วยการตัดเต้านมทิ้งเป็นที่ทุกข์ทรมานยิ่งนัก ส่วนรายที่ยังไม่มีการอักเสบหรือแตกทะลุ ก็จะเกิดปัญหาว่า ไม่สามารถตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม หรือก้อนที่มะเร็งเต้านมได้อีกเลยตลอดชีวิต และไม่มีวันรู้เลยว่า สิ่งแปลกปลอมที่อยู่บริเวณเต้านมทั้งสองข้างนั้น วันใดจะเกิดปัญหาขึ้นมาได้อีก

เสริมเต้านมในผู้ชาย ได้หรือไม่ มีข้อจํากัดอย่างไร ?

การเสริมเต้านมในผู้ชายสามารถทำได้เช่นกัน แต่มีเทคนิคแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการประเมินความหนาของกล้ามเนื้อเต้านม เนื้อผิวหนัง และความกว้างของหน้าอก บางกรณีเช่น ทานฮอร์โมนมานานจนมีเนื้อเต้านมเพียงพอ หรือมีกล้ามเนื้อที่ขนาดใหญ่แข็งแรงมาก และต้องการใส่ถุงเต้านมเทียมขนาดใหญ่ อาจใส่เหนือกล้ามเนื้อก็ได้ ส่วนตําแหน่งแผลก็พิจารณาได้ตามแต่ต้องการเช่นกัน

การผ่าตัดเสริมเต้านม เจ็บมากหรือไม่ ? และควรพักฟื้นนานเท่าไร ?

โดยทั่วไปหากเป็นการผ่าตัดที่ไม่ซับซ้อน หลังเสริมเต้านมอาการเจ็บมาก มักจะไม่เกิน 2-5 วัน หลังจากนั้นจะค่อยๆดีขึ้น แลคประมาน 7-14 วัน ก็มักจะทำกิจวัตรประจำวันได้ปกติทุกอย่าง แต่ทั้งนี้ความเจ็บขึ้นอยู่กับต รู้สึกแต่ละบุคคล และการใช้ยาระงับปวดที่เหมาะสม ก็สําคัญมากเช่นกัน

ท่อระบาย (เดรน/drain) จําเป็นหรือไม่ ?

การใส่เดรน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในแต่ละกรณี และความชอบ ของศัลยแพทย์ การใส่เดรนนั้นไม่จำเป็นในทุกรายเสมอไป แต่เดรนก็อาจช่วย เพิ่มความปลอดภัย ช่วยระบายน้้ำในโพรง และสามารถช่วยตรวจสอบได้ว่า บริเวณที่ผ่าตัดนั้นเรียบร้อยดีหรือไม่

ผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัดเสริมเต้านมมีอะไรได้บ้าง ?

ความจริงผลแทรกซ้อน และอันตรายจากการผ่าตัดเสริมเต้านมมีมาก เช่นเลือดออก ติดเชื้อ พังผืดไม่เท่ากัน การเกิดหินปูน การเจ็บ เสียว หรือ ชา แผลเป็น การแตกรั่วซึมของถุงเต้านมเทียม ถุงเต้านมอยู่ในตําาแหน่งที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งความเสี่ยงจากการให้ยาสลบชนิดต่างๆ เป็นต้น

อาการชา หลังผ่าตัดเกิดได้อย่างไร และนานเพียงใดจะหาย ?

อาการชามักเกิดจากเส้นประสาทโดนตัดขาด ซึ่งมักต้องใช้เวลาอย่าง น้อย 3-6 เดือน ความรู้สึกจึงจะค่อยๆ กลับมาใกล้เคียงปกติได้ แต่ก็อาจ เกดิ อาการชาถาวรได้เช่นกัน บางกรณีเกิดจากการบวมตึง ซึ่งในกรณีนี้มักจะหายชาภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์

อาการเสียวแปล๊บ หลังผ่าตัดเกิดได้อย่างไร และเมื่อใดจะหาย ?

หลังการผ่าตัดแล้วมีอาการเสียวแปล๊บ ซึ่งมักเกิดจากเส้นประสาทถูกดึง ยืด หรือปลอกเส้นประสาทได้รับบาดเจ็บ อาการเหล่านี้มักจะดีขึ้นในเวลาไม่กี่สัปดาห์

เลือกเสื้อชั้นใน หลังผ่าตัดอย่างไร ?

เหตุผลที่ต้องใส่เสื้อชั้นในนั้น เพื่อให้บริเวณที่ผ่าตัดมีความกระชับ และช่วยลดอาการบวมของเนื้อเยื่อ ดังนั้นจึงมีคําแนะนําให้ใส่เสื้อชั้นในแบบ ยางยืดที่กระชับเป็นเวลาอย่าน้อย 2-3 สัปดาห์ สามารถใช้เสื้อชั้นในทั่วไปที่ไม่มีโครง หรือเสื้อในออกกําลังกาย (sport bra) โดยใส่แค่พอกระชับก็เพียงพอ

จะออกกําลังกายหลังผ่าตัดได้เมื่อใด ?

ผู้รับการผ่าตัดที่ต้องการออกกําลังกายหลังการผ่าตัด แนะนําให้ใส่เสื้อในที่กระชับ และอย่าเร่งรีบออกกําลังมากเกินไป โดยเฉพาะช่วง 2-3 สัปดาห์แรกหลังผ่าตัด เนื่องจากแผลยังไม่สมบูรณ์ดีนัก ควรออกกําลังกายด้วยการเดินเบาๆหรือเน้นกล้ามเนื้อขา และส่วนล่างของลําตัว ซึ่งเริ่มได้ ใน 2-4 สัปดาห์หลังผ่าตัด สําหรับลําตัวส่วนบน ที่ต้องใช้กล้ามเนื้อไม่ว่าจะเป็นเนื้อส่วนอก หลัง และไหล่ ควรรออย่างน้อย 4-6 สัปดาห์หลังผ่าตัด โดยเฉพาะในรายที่ใส่ถุงเต้านมเทียมใต้กล้ามเนื้อ

การนวดหลังการผ่าตัด จําเป็นหรือไม่ ?

ศัลยแพทย์แต่ละท่านมีเทคนิคหรือความถนัดแตกต่างกัน เช่นหาก ผ่าตัดโดยใส่เหนือกล้ามเนื้อมักจะต้องมีการนวดตามมาในภายหลัง ขณะที่การผ่าตัดโดยใส่ใต้กล้ามเนื้อไม่จําเป็นต้องใช้การนวด อย่างไรก็ดี ไม่แนะนําให้นวดรุนแรง เนื่องจากอาจเกิดการฉีกขาดของแคปซูล และเนื้อเยื่อที่หุ้มถุงเต้านมเทียม หากต้องการนวด ควรทําเพียงดันเบาๆ เข้าด้านใน และหรือนวดไปรอบๆก็เพียงพอ ในหลายๆกรณีอาจไม่ต้องนวดเลยด้วยซ้ำ

ท่านอนหลังผ่าตัด ต้องนอนอย่างไร ?

ท่านอนที่แพทย์แนะนําหลังผ่าตัด คือนอนหงาย จะนอนราบเลยก็ได้ หรืออาจนอนหัวสูงเพียงเล็กน้อย แต่ก็ไม่มีความจําเป็นนัก การนอนหงาย แนะนําในช่วงประมาน 1-3 สัปดาห์แรก หากผู้รับการผ่าตัดมีอาการเมื่อย อาจตะแคงได้บ้าง แต่ไม่แนะนําให้นอนคว่ำ รวมถึงแม้ในเวลาจะนอน ก็ควรใส่เสื้อชั้นในด้วยในช่วงสัปดาห์แรกๆหลังผ่าตัด

ใช้เวลานานเพียงใด เต้านมจึงจะเข้าที่ ?

หลังการผ่าตัดเต้านมมักจะมีลักษณะห่าง และลอยสูงอยู่บ้างเล็กน้อยต้องใช้เวลาอย่างน้อยประมาณ 2-3 เดือน หลังจากนั้นเต้านมจะคล้อยลง มาและชิดกันมากขึ้น เนื่องจากผิวหนังเนื้อเต้านม และกล้ามเนื้อเริ่มขยายตัว รวมทั้งอาจต้องมีการใส่เสื้อในที่เหมาะสม และการนวดดันทรงช่วยบ้าง ดังนั้นไม่ควรใจร้อนว่าเสริมนมเสร็จแล้ว จะออกมาสวยดั่งใจในทันที

เสริมเต้านมเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมจริงหรือไม่ ?

ยังไม่มีข้อมูลใดยืนยันว่าการเสริมเต้านมแล้วจะเป็นคามเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม แต่สถิติการตรวจพบมะเร็งเต้านม ทั้งในผู้ที่เสริมและไม่เสริมเต้านม มีค่าทางสถิติใกล้เคียงกัน นั่นหมายความว่า ยังไม่มีสถิติยืนยันว่าการเสริมเต้านม จะทําให้เสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม มากกว่าคนที่ไม่เสริมเต้านม

เสริมเต้านมแล้วสามารถทํา แมมโมแกรม (mammogram) และอัลตราซาวด์ (ultrasound) ได้หรือไม่ ?

ผู้ที่เสริมเต้านมสามารถตรวจทั้งสองโปรแกรมดังกล่าวได้แต่อาจต้องมีเทคนิคพิเศษเพิ่มเติม และบางกรณีอาจต้องมีการตรวจอื่นๆเพิ่ม เช่น ทําคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เป็นต้น

หลังการเสริมเต้านม จําเป็นต้องตรวจติดตามหรือไม่ อย่างไร ?
มีความจำเป็นมากที่ผู้เสริมเต้านมต้องตรวจติดตามเพิ่มเติมเนื่องจากรูปร่างและรูปทรงของเต้านมเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เช่น หากเกิดพังผืด แตกรั่วซึม หรือหากเกิดแผลเป็นบริเวณแผลผ่าตัด ศัลยแพทย์จะแนะนําดูแลรักษาได้ทันท่วงที

การผ่าตัดเสริมเต้านม สามารถตรวจพบมะเร็งของอวัยวะอื่นได้จริงหรือไม่ ?

เป็นเรื่องจริงที่การผ่าตัดเสริมเต้านม สามารถตรวจสอบมะเร็งของอวัยวะอื่นได้ เนื่องจากปัจจุบัน มีรายงานการตรวจพบมะเร็งเม็ดเลือดขาว ชนิดหนึ่ง เรียกในวงการแพทย์ว่า BIA-ALCL (Breast Implant-Asso- ciated Anaplastic Large Cell Lymphoma) ซึ่งพบได้น้อยมาก จากรายงานอุบัติการณ์ในต่างประเทศ พบประมาณ 1 ใน 300,000 ราย ของผู้ที่มีถุงเต้านมเทียม

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด BIA-ALCL มักมีอาการอย่างไร ?

อาการที่ตรวจพบบ่อยที่สุด คือเมื่อผ่านไปหลายปี เต้านมจะมีลักษณะบวมตึงแข็ง และขนาดไม่เท่ากัน การวินิจฉัยเพื่อรักษาอาการนี้ มักต้องทําโดยการผ่าตัดเต้านม ตรวจสารน้ำในโพรง และเนื้อเยื่อพังผืดแคปซูล ซึ่งต้อง ส่งตรวจโดยวิธีพิเศษกับห้องปฏิบัติการเฉพาะทางเท่านั้น

หลังผ่าตัดห้ามกินอะไรบ้าง สูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้หรือไม่ ?

เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ไม่ควรดื่มในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกหลัง ผ่าตัด แต่หากปริมาณไม่มากนักอาจไม่มีอันตราย แต่บุหรี่เป็นตัวอันตรายมาก มีผลต่อทั้งการสมานของแผล การเกิดพังผืด การบวมของเนื้อเต้านม และการเกิดน้ำและเลือดคั่งภายใน ดังนั้นควรหยุดบุหรี่ก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 3 สัปดาห์ และหลังผ่าตัด 4-6 สัปดาห์ ส่วนอาหารนั้นไม่มีข้อห้าม เพียงแต่ขอให้ ใหม่ สด สุก สะอาด ชนิดของอาหารก็ทานได้หมด รวมถึง ไข่ไก่ กุ้ง อาหารทะเลต่างๆ เป็นต้น ทานได้ปกติ

อาการนมแฝดเกิดจากอะไร ?

ภาวะเต้านมชิดกันเกินไปหรือเต้านมแฝด เป็นภาวะที่เกิดจากเต้านม สองข้างชิดกันเกินไป โดยปกติแล้วฐานของเต้านมสองข้างจะไม่เชื่อมต่อกัน โดยแบ่งแยกกันตรงกระดูกกลางทรวงอก (Sternum) ซึ่งมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ที่แข็งแรงเป็นตัวยึดแยกระหว่างเต้านมสองข้าง สาเหตุของการเกิดนั้นมีได้ หลายประการ และยังเพิ่มความเสี่ยงในหลายกรณี ได้แก่

1. ใส่ถุงเต้านมเหนือกล้ามเนื้อ

2. เลาะโพรงชิดตรงใกล้กลางกระดูกชิดมากเกินไป (Too close pocket dissection)

3. ถุงเต้านมขนาดใหญ่เกินไป (Oversize)

4. หลังผ่าตัดโพรงของถุงเต้านมครากยืด เช่น เกิดจากการนวดอย่างแรง (Aggressive Massage)

5. เนื้อเสียความยืดหยุ่น (Poor tissue quality, elastic)

6. บางกรณีเกิดเป็นภาวะแต่กําเนิดของผู้ป่วยเองหรือจากขนาดและ น้ำหนักเต้านมที่มาก (Congenital,Gigantic Hypertrophic breast )

การแก้ ไขนมแฝดทําอย่างไร ?

การแก้ไขทําได้ยาก แพทย์จึงแนะนําให้ป้องกันตั้งแต่แรก และหากจะลดความเสี่ยง ไม่ควรใส่ถุงเต้านมใหญ่เกินไป หรือไม่นวดรุนแรง แต่หากเกิดนมแฝดแล้ว การใช้เสื้อชั้นในเพื่อแก้ไขมักไม่ค่อยได้ผล ทางแก้จึงมักต้องผ่าตัด และใช้เวลามากกว่าการเสริมใหม่ถึง 2-3 เท่าตัว ถือเป็นความยากที่เพิ่มทวีคูรและในบางกรณีอาจต้องเอาถุงเต้านมออกและพักไว้ก่อนหลายเดือนถึงจะกลับมาแก้ไขได้

นมห่างเกิดจากอะไร ?

ภาวะนมห่างอาจจะเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น
1. รูปกระดูกอกที่นูนและห่าง (อกไก่อกถังเบียร์ pigeon chest or barrel chest or broard chest)
2. เนื้อเต้านมห่างและน้อย
3. ใส่ถุงเต้านมเทียมขนาดเล็กเกินไป
4. ใส่ถุงเต้านมเทียมห่างเกินไป
5. เกิดพังผืดหดรั้งถุงเต้านมเทียม เป็นต้น

นมห่างแก้ ไขอย่างไร ?

นมห่างมักจะแก้ไขได้ง่ายกว่านมชิด ด้วยการเลาะถุงเต้านมให้ชิดขึ้น หรือใส่ถุงเต้านมขนาดใหญ่ขึ้น หรืออาจมีการฉีดไขมัน ช่วยเพิ่มเนื้อด้านใน และเนินนม แต่ในบางกรณี หากเป็นความผิดปกติ ที่รูปทรงของกระดูกจะแก้ไขได้ยาก

นมชิด นมห่าง นมสูง นมต่ำ แบบไหนดีกว่ากัน ?

ความจริงนั้น เต้านมเป็นอวัยวะที่มีการเคลื่อนไหวตามร่างกาย และ เเรงโน้มถ่วงซึ่งนั่นหมายความว่า ไม่มีนมคู่ใดในโลกที่จะอยู่ชิดกันตลอด ถ้าอยากให้นมชิดมากนั้นมักต้องใช้เสื้อในร่วมดันด้วย ในขณะเดียวกัน หลายๆกรณีพบว่าหากถอดเสื้อในที่ช่วยพยุงแล้วเต้านมมีปัญหาคล้อยย้อยครากลงไปถึงชายโครง หรือเมื่อนอนหงายแล้ว เต้านมแยกห่างลงไปกองที่รักแร้แล้ว ละก็อาจต้องพิจารณาดูแลแก้ไขก็ได้นะครับ ทั้งนี้ไม่มีแบบไหนดีกว่าหรือสวยกว่า ขึ้นอยู่กับความชอบแต่ละบุคคลทั้งสิ้น

ถุงเต้านมเทียม มีอายุ 10 ปี จริงหรือ ?

คำตอบแน่ชัดคือ ไม่เป็นความจริง เพราะตัวเลข 10 ปีนั้นอ้างมาจาก งานวิจัยเมื่อนานมาแล้ว ที่พบว่าหลังจากผ่านไป 10 ปี ถุงเต้านมเทียมจะเริ่มเกิดปัญหา แต่การศึกษานั้นเป็นถุงเต้านมเทียมรุ่นที่ผลิตเกิน 10 ปีก่อน เช่นกันปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตถุงเต้านมเทียมดีขึ้นกว่าอดีตมาก รวมทั้งความเข้าใจเทคนิคการผ่าตัด การป้องกัน ผลแทรกซ้อนต่างๆก็ดีขึ้นทำให้แม้จะผ่านไป 10 ปีก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน เพราะไม่มีหมดอายุ และหากซิลิโคนไม่พบปัญหาการแตก รั่ว ซึม เกิดพังผืด หรือติดเชื้อ ก็ยิ่งไม่มีความจําเป็นต้องเปลี่ยนเลย ส่วนคําถามว่าจะรู้ได้อย่างไรว่า ซิลิโคนมีปัญหาหรือไม่นั้น วีธีคือต้องหมั่นตรวจสอบตนเอง และพบแพทย์เพื่อตรวจประเมิน อย่างไรก็ดีถุงเต้านมเทียมไม่ได้ถูกออกแบบมาให้อยู่ในร่างกายคนเราได้ตลอดชีวิต ดังนั้น หากมีการทําศัลยกรรมใดๆ ที่เต้านมครั้งนึงแล้ว ก็เป็นไปได้ว่าอาจจะมีการผ่าตัดที่เต้านมได้อีกในอนาคต

เมื่อไร ? ต้องยกกระชับเต้านม

การผ่าเพื่อยกกระชับเต้านม อาจทำร่วมกับการใส่ถุงเต้านมเทียมด้วยหรือไม่ก็ได้ กรณีที่พบบ่อยคือเมื่อมีความหย่อนคล้อยอันเกิดจากอายุที่มากขึ้น หรือหลังให้นมบุตร หรือภายหลังลดน้ำหนัก หากประเมินตนเองง่ายๆด้วยการส่องกระจก แล้วจะเห็นว่าหัวนมและเนื้อเต้านมส่วนใหญ่อยู่ต่ำกว่าฐานเต้านมหรือขอบล่างของเสื้อใน แล้วก็อาจจำเป็นต้องพิจารณาผ่าตัดยกกระชับเต้านม พึงระลึกว่าแผลจากการผ่าตัดยกกระชับนั้นไม่เหมือนการเสริมเต้านมทั่วไป รวมทั้งเทคนิคการผ่าตัดก็มีความซับซ้อนและใช้เวลานานกว่ามาก

การลดขนาดเต้านม ควรทําเมื่อไร เพราะอะไร ?

ปัญหาของเต้านม ไม่เพียงเฉพาะคนที่เต้านมเล็กเท่านั้น แต่สําหรับคนที่เต้านมมีขนาดใหญ่เกินไป ก็ทําให้เกิดอาการปวดคอ ปวดไหล่ ปวด หลัง หรือมีผื่นแดงคันเป็นเชื้อราใต้ราวนมก็ได้ บางรายอาจมีปัญหาเรื่องบุคลิกภาพในการเข้าสังคม เนื่องจากใส่ชุดอะไรก็ดูโป๊ หรือถูกเพื่อนล้อ หากมีปัยหาเหล่านี้ สามาารถพิจารณาผ่าตัดลดขนาดเต้านม จะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

ข้อควรระวัง ของการผ่าตัดลดขนาดเต้านม มีอะไรบ้าง ?

หากพูดถึงข้อควรระวัง ก็มีทั้งระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดทั่วไป และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดชนิดนี้ ที่สําคัญมากคือ การผ่าตัดลดขนาดเต้านม อาจมีปัญหาเรื่องแผลผ่าตัด ทั้ง แผลแยก แผลติดเชื้อ มีเนื้อตาย และเกิดแผลเป็นที่ผิดปกติ ปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ การที่ตัดเนื้อเต้านมออกไปอาจมีผลกระทบต่อเส้นเลือด และเส้นประสาทที่มาเลี้ยงบริเวณหัวนม ในบางกรณีอาจเกิดหัวนมตาย ลอก หลุด หรือหัวนมชาไร้ความรู้สึกได้ หากคนไข้มีอายุน้อยวางแผนมีบุตรอาจมีผลต่อการให้นมบุตรได้ นอกจากนั้น ในระยะยาว รูปร่างรูปทรงเต้านมอาจเปลี่ยนไปได้ โดยอาจหย่อนคล้อยลงมาอีก หรือมีขนาดเพิ่มขึ้นอีกก็เป็นได้ หากไม่ได้รับการแก้ไขสาเหตุที่ทําให้เต้านมโต เช่นปัจจัยทางฮอร์โมน เป็นต้น

การตัดเต้านมในผู้หญิง ที่ต้องการมีรูปร่างเป็นผู้ชาย ทําได้อย่างไร ?

โดยทั่วไปมักทําเพื่อตอบสนองภาวะจิตใจ ให้รูปร่างมีความเป็นชาย มากขึ้น แผลผ่าตัดอาจอยู่บริเวณลานหัวนม บนเต้านม หรือที่ฐานเต้านม ก็ได้ ขึ้นกับว่าเต้านมเดิมนั้น มีขนาดเล็กใหญ่เพียงใด โดยปกติแล้วภายหลังจากการผ่าตัดเต้านมออก แล้วบริเวณหัวนมก็จะมีอาการชาในบางครั้งหากเต้านมมีขนาดใหญ่มาก จําเป็นต้องใช้เทคนิคการผ่าตัดด้วยการตัดหัวนมออก แล้วมาเเปะใหม่ก็เป็นได้ ส่วนตําแหน่งของแผลเป็นขึ้นอยู่กับความถนัดของศัลยแพทย์ และความพอใจของผู้ทําการรักษาเป็นหลัก ที่สําคัญที่สุดคือ หากตัดไปแล้วไม่สามารถนํากลับมาได้ใหม่ ดังนั้น ผู้ที่จะตัดเต้านม ควรได้รับการประเมินจากจิตแพทย์ มีการเซ็นยินยอม ทั้งจากตนเอง และพยานด้วยเสมอ

ภาวะผู้ชายที่อกโต เกิดจากอะไร ?

บริเวณเต้านมชายนั้นมี 4 อวัยวะหลัก คือ
- กล้ามเนื้ออก (หรือที่ ชาวนักกล้ามเรียกเพคโตรัล – pectoralis major)
- เนื้อเต้านม
- ไขมัน
- กระดูกหน้าอก
สาเหตุที่หน้าอกโต จึงอาจเกิดจาก

1. ภาวะชายนมโต ( Gynaecomastia ) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด คือเป็นการโตผิดปกติของเนื้อเต้านมจริงๆ ซึ่งมักเกิดจากสาเหตุที่เนื้อเต้านมถูกกระตุ้นโดยฮอร์โมน มักจะพบในสองช่วงอายุคือวัยรุ่น หรือผู้สูงวัย หรือผู้ชายที่ทานฮอร์โมน ซึ่งการที่หน้าอกชายโต อาจจะโตแค่ข้างใดข้างหนึ่ง หรือโตสองข้างไม่เท่ากันก็ได้

2. กล้ามเนื้อหน้าอกโต พบได้ในนักกล้ามหรือผู้ที่ออกกําลังกาย

3. เนื้องอกเต้านม อาจเป็นมะเร็งเต้านมซึ่งผู้ชายก็เป็นมะเร็งเต้านมได้ หรือเป็นเนื้องอกชนิดอื่นแต่สาเหตุนี้พบได้น้อย

4. กระดูกหน้าอกนูนผิดปกติ กรณีนี้มักผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด และเห็นชัดขึ้นในวัยเด็กหรือวัยรุ่น

ส่วนเพศชายที่ทานยาฮอร์โมนจนหน้าอกโต และกลายเป็นสาวสวย มักจะเป็นเนื้อเต้านม อีกกรณีที่เกิดขึ้นได้ทั้งหญิงและชาย คือข้างที่โตนั้นเป็นปกติ แต่อีกข้างเจริญฝ่อตัวผิดปกติก็พบได้เช่นกัน เช่นภาวะกลุ่มโรคโปแลนด์ สำหรับการรักษา หากเป็นเนื้องอกต้องผ่าตัด แต่หากเป็นกระดูกผิดรูปก็ดูว่าผิดรูปมากน้อยเพียงใดจะผ่าตัดแก้ไขได้อย่างไร ซึ่งหากเป็นกล้ามเนื้อจะแก้ไขไม่ได้มาก แต่หากเป็นเนื้อเต้านมก็พิจารณาว่ามีปริมาณมากหรือน้อย ต้องทําการผ่าตัด หรืออาจต้องรับประทานยาหรือไม่ ซึ่งโดยทั่วไปมักไม่เร่งด่วนและไม่มีอันตราย

เต้านมผิดรูป หรือถูกตัดเต้านมทิ้งหลังการผ่าตัดเนื้องอกมะเร็งเต้านม สามารถแก้ ไขเสริมสร้างได้หรือไม่ ?

คําตอบคือ สามารถทําได้โดยความสําคัญที่สุดคือการรักษาเนื้องอก หรือโรคมะเร็งให้หายขาด ปลอดภัยเสียก่อน บางกรณีสามารถเสริมสร้างเต้านมใหม่ พร้อมกับการตัดเนื้องอกมะเร็งเต้านมได้เลย แต่หากตัดเต้านมไปแล้วก็สามารถรับการประเมินและทําเต้านมใหม่ได้เช่นกัน โดยปัจจัยที่ต้องประเมินเช่น ความรุนแรงของโรค ระยะของโรค และการรักษาร่วม เช่นการ ให้เคมีบําบัด และการฉายแสง เป็นต้น

การเสริมสร้างเต้านม ภายหลังการตัดเต้านมทําได้อย่างไร ?

การเสริมสร้างเต้านมอาจต้องใช้การผ่าตัดมากกว่า 1 ครั้ง เนื่องจากต้องค่อยๆสร้างเต้านมใหม่ และปรับรูปเต้านมอีกข้างให้เหมาะสม เทคนิคการผ่าตัดคืออาจจะใช้เนื้อของตนเอง เช่นจากหน้าท้อง หรือแผ่นหลัง หรือไขมันบริเวณสะโพก ก้น ต้นขา ซึ่งมีความเป็นธรรมชาติใกล้เคียงเนื้อเต้านม หรือหากไม่ใช้เนื้อตนเอง ก็อาจใช้ถุงเต้านมเทียมซึ่งมีข้อดีที่ไม่ต้องมีบาดแผล ที่อื่นเพิ่มเติมนัก และสามารถทําได้โดยมีเวลาพักฟื้นสั้น และความเจ็บปวดน้อยกว่า ทั้งนี้ต้องขึ้นกับการประเมินโรคความเหมาะสมของรูปร่างคนไข้ และความถนัดของศัลยแพทย์ด้วย

การผ่าตัดลดขนาดลานนม ทําได้หรือไม่ ?

การลดขนาดลานนมสามารถทําได้ และอาจทําด้วยการฉีดยาชาก็เพียงพอ แต่มักจะต้องมีแผลรูปวงกลมรอบลานหัวนม หลังผ่าตัดอาจมีรอยยู่ย่นบ้าง ซึ่งใช้เวลา 2-3 เดือนจึงจะเริ่มเรียบได้ ต้องระวังการเกิดแผลเป็นนูน ในบางกรณีอาจเป็นการผ่าตัดร่วมกับการยกกระชับเต้านมก็ได้

การลดขนาดหัวนมทําได้หรือไม่ ?

สามารถทําได้เช่นกัน และมักทําด้วยการฉีดยาชา แต่ข้อควรระวังคือในผู้ที่อายุน้อย อาจมีผลต่อการให้นมบุตร่ เพราะการผ่าตัดอาจต้องตัดทำลายท่อน้ำนมบางส่วน นอกจากนั้นแผลผ่าตัดบริเวณหัวนม อาจมีผลต่อความรู้สึกได้

หัวนมบอดแก้ ไขอย่างไร ?

หัวนมบอดขึ้นอยู่กับระดับว่าเป็นมากหรือน้อย หากเป็นน้อยอาจแก้ไขด้วยการดึง หรือฉีดไขมัน พร้อมกับลงแผลเล็กๆ เพื่อเลาะพังผืดก็เพียงพอ แตหากเป็นระดับที่บุ๋มลึก การผ่าตัดต้องใช้วิธีที่ซับซ้อนขึ้น แผลผ่าตัดอาจยากและใหญ่ขึ้นรวมทั้งมีความเสี่ยงต่อความรู้สึก และการให้นมบุตรในอนาคต

การดูแลแผลเป็นหลังผ่าตัด

แผลเป็นนั้นมาคู่กับการผ่าตัดเสมอ ไม่ว่าจะวางแผลที่ใดก็ตามจะเป็นแผลรักแร้ แผลใต้ฐานนม แผลรอบลานนม แผลรูปตัวทีหรือแผลจากการผ่าตัดใดๆบนเต้านม ก็ล้วนเกิดแผลเป็นทั้งสิ้น แต่หน้าที่ของศัลยแพทย์ คือ การทําให้แผลเป็นอยู่ในตําแหน่งเหมาะสมที่สุดและคุณภาพดีที่สุด

การป้องกันแผลเป็น ทําอย่างไร ?

หลังจากแผลติดสนิทแล้วหรือตัดไหมแล้ว ในระยะเวลาไม่ควรเกิน 7-14 วันแรก ควรป้องกันโดยการทาเจลกันแผลเป็น หรือแปะแผ่นปิดกัน แผลเป็น รวมทั้งระวังไม่ให้โดนแดดมากนัก ซึ่งโดยทั่วไป แผลเป็นจะค่อยๆ เห็นชัดขึ้นเรื่อยๆ ใน 2-3 เดือนแรก (proliferative phase) หลังจากนั้น เกิน 6 เดือน (remodeling phase) แผลจะค่อยๆ จางลง เนื่องจากมี \การจัดเรียงตัวของเซลล์และหลอดเลือดบริเวณบาดแผล ดังนั้นการป้องกันแผลเป็น ควรทำทันทีภายใน 7-14 วัน หลังการผ่าตัด และควรดูแลต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน หรืออาจนานถึง 2 ปี

การรักษาแผลเป็นทําอย่างไร ?

แผลเป็นเมื่อเริ่มเกิดขึ้นแล้ว ความผิดปกติที่พบบ่อยอาจเป็นคีลอยด์ (keloid) แผลเป็นนูน (hypertrophic scar) และแผลเป็น คล้ำ (hyperpig- mented scar) เป็นต้น ซึ่งมักจะต้องใช้วิธีการรักษาที่ผสมผสาน นอกจากการทาและแปะที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังอาจต้องมีการฉีดยาเสตียรอยด์ (steriod) ที่บริเวณแผล หรือการทําเลเซอร์ หรืออาจต้องผ่าตัดแต่งแผลเป็น รวมทั้งฉายแสงร่วมด้วย ดังนั้น กรณีที่ดีที่สุด คือการป้องกันไม่ให้เกิดเเผลที่ไม่พึงประสงค์ ดีกว่าที่จะมารักษาแผลในภายหลัง

นพ.วิษณุ โล่ห์สิริวัฒน์

ThPRS of Thailand