Filler เออเร่อ ไม่ว่า แต่อย่าเหลือ…

กําเนิด “ฟิลเลอร์”

“ฟิลเลอร์” ฟิลเลอร์ (Filler) คือสารเติมเต็ม แตกต่างจากโบท็อกซ์ (Botox) เพราะโบท็อกซ์เป็นสารลดริ้วรอยที่ทํางานโดยไปหยุดการทํางานของกระแสประสาทของกล้ามเนื้อมัดนั้นๆ ก่อนหน้านี้เริ่มมีการใช้ Dermal filler เพื่อเติมบนผิวหน้ามานานกว่า 10 ปี ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ซึ่งเกิดคําศัพท์ใหม่พ่วงกับคําว่า ฟิลเลอร์ตามมา คือ Permanent กับ Semi-Permanent ซึ่งถือเป็นคําศัพท์ใหม่ๆ ที่ถูกพูดถึง หลังจากก่อนหน้านี้เมื่อพูดถึงฟิลเลอร์ มักจะมีการพูดถึงสรรพคุณตามมา เช่น ฟิลเลอร์ที่สลายในเวลา 3 เดือน 6 เดือน บ้าง 1 ปี และ 2-5 ปี ตามลําดับ ซึ่งจริงๆ แล้วฟิลเลอร์ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ใหญ่ ดังนี้

1. Temporary Dermal Filler ได้แก่ Zyderm, Zyplast ถือว่าเป็น คอลลาเจนแท้ แต่สังเคราะห์จากวัว ดังนั้น ก่อนฉีดจึงต้องทดสอบก่อนว่าแพ้หรือไม่ ? เช่นนั้นคนที่ไม่ทานเนื้อวัวหรือแพ้สารสกัดจากวัวอาจจะมีอาการแพ้รุนแรงตามมาได้ ปัจจุบันแทบจะไม่มีคลินิกไหนฉีดสารชนิดนี้แล้ว

 
68F55877-136F-402D-920A-6724E865E378.jpeg
 


2. Semi–Permanent Dermal filler (ฟิลเลอร์กึ่งถาวร เป็นชนิดที่ฉีดแล้วเติม) ได้แก่ Restylane, Hydrafill, Hylaform, Juvederm กลุ่มนี้คือ Hyaluronic Acid ( HA ) สังเคราะห์มาจากการหมักของเชื้อโรคชนิดหนึ่งที่ชื่อ Streptococcus ซึ่งแต่ละยี่ห้อที่กล่าวมาข้างต้น ก็มักนําเสนอว่าเป็น ผลิตภัณฑ์ที่ดีโมเลกุลใหญ่ และเมื่อฉีดแล้วไม่กระจายไปไกล

 
00C2D11E-1C7C-42F7-AF9D-CBF585FF413D.jpeg
 


3. Permanent Dermal filler (ฟิลเลอร์แบบถาวร ฉีดครั้งเดียวเอา อยู่ตลอดชีพ) ได้แก่ Artecoll, Artifill, Aquamid, Radiesse กลุ่มนี้เป็น สารสังเคราะห์ เช่น Artecoll หรือ Artifill ก็เป็นสารกลุ่ม Polymethyl methacrylate (PMMA) ซึ่ง Acrylate ที่เป็นคำสุดท้าย มีสถานะคล้ายๆ Acrylic (อะคริลิค หรือแผ่นพลาสติกแบบเรียบ)
ส่วน Aquamid เป็น Polyacrylamide หรือพอลิเมอร์ ส่วน Radiesse คือ Calcium Hydro-xylapatide คือองค์ประกอบของกระดูกและฟัน ดังนั้นฟิลเลอร์ชนิดนี้จึงไม่นําเข้ามาใช้ในประเทศไทย เพราะไม่ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. แม้บางคลินิกจะบอกว่า ผ่านการรับรองจากต่างประเทศมาแล้วก็ตาม

 
CF36612D-DE56-4C7F-AFAA-5A820DF7BAA7.jpeg
 


การฉีดเพื่อเพิ่มเติมความลึก เพิ่มความหนาของผิวหนัง เริ่มมีมาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1960 โดยเริ่มฉีดแพร่หลายที่อเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งสารที่เริ่มฉีดแรกเริ่มเดิมคือ ซิลิโคนเหลว (Liquid Silicone) เมื่อฉีดไปได้ราว 20 ปี จึงรู้ว่าซิลิโคนเหลวมีผลกระทบตามมา คือเกิดการไหลไม่อยู่ในตําแหน่งที่ฉีด ก่อให้เกิดการอักเสบของผิวหนัง ไม่ว่าจะเป็นการอักเสบบวมแดง การอักเสบเป็นก้อน เป็นไตแข็งใต้ผิวหนังส่วนนั้น และที่สําคัญซิลิโคนเหลวนั้นยังเป็นสารก่อมะเร็ง

ในประเทศไทยเอง สารซิลิโคนเหลวนั้นยังเป็นท่ีนิยมฉีดกันในกลุ่ม หมอเถื่อน เนื่องจากมีราคาถูก และยังมีการแอบฉีดตามร้านเสริมสวย ตามคอนโด หรือตามที่จอดรถ กระทั่งถึงตอนนี้ ยังมีการฉีดลักษณะนี้อยู่ แต่เริ่มลดลง เพราะมีหมอเถื่อนแอบมาเปิดคลินิกเองบ้าง หรือจ้างหมอจริงแขวนป้ายแล้วฉีดบ้าง

 
ซิลิโคนเหลว (Liquid silicone)

ซิลิโคนเหลว (Liquid silicone)

 


ปัจจุบันนี้ตามคลินิกที่ถูกกฎหมาย มีการนําสารฟิลเลอร์ ชนิด Hyaluronic acid (HA) มาฉีดเกือบแทบทุกคลินิก โดยโฆษณาว่าผ่านการรับรองมาตรฐาน อย. แล้วทั้งไทยและต่างประเทศ โดยยกชื่อประเทศอื่นที่ก้าวหน้ามากกว่าประเทศไทย เพื่อให้คนฟังเชื่อถือ แต่ต้องบอกว่ามีฟิลเลอร์เพียงไม่กี่ชนิด ที่ได้รับอนุญาตให้ฉีดได้ ดังนั้นก่อนฉีดคนไข้จึงต้องถามข้อมูล เพิ่มว่าฟิลเลอร์ที่ฉีดนั้นยี่ห้ออะไรเสมอ

ในข้อเท็จจริง ผลิตภัณฑ์ฟิลเลอร์นั้นมีประโยชน์หากใช้ถูกวัตถุประสงค์ แต่ที่ผ่านมามักมีการใช้ผิดวัตถุประสงค์ เพราะต่างชาตินำฟิลเลอร์มาใช้ในการรักษาอาการร่องลึกบนใบหน้า (Course Wrinkle) เช่น ร่องแก้ม ร่องหน้าผาก หรือร่องน้ำหมาก (Marionette line) รอยย่นในร่องแก้ม ( Nasolabial fold) ซึ่งโบท็อกซ์รักษาไม่ได้ การทํา Lip Augmentation (เพิ่มความหนา ริมฝีปาก) และเติมแก้มตอบๆ ผอมๆ เป็นต้น

ที่สําคัญแพทย์ต่างชาติ โดยเฉพาะชาติตะวันตกไม่ได้นํามาฉีดจมูก เพราะจมูกโด่งอยู่แล้ว แต่แพทย์ไทยนํามาประยุกต์ใช้เองในการฉีดเสริมจมูกบ้าง เสริมคางบ้าง ซึ่งในช่วงเกือบ 10 ปีก่อน มักรับประกัน 100 % ว่า ฉีดแล้วสลาย ไม่ไหล ไม่ย้อย แต่เมื่อผ่านมา 10 ปี แพทย์หลายท่าน เริ่มจะไม่กล้าพูดว่าสลาย เพราะอย่างที่บอกฟิลเลอร์นั้นเป็นสารกึ่งถาวร (Semi- Permanent)

แม้ว่าปัจจุบันจะเริ่มมีฟิลเลอร์ชนิดใหม่ออกมา ประเภทคุณสมบัติอยู่ทนนาน ไม่ต้องฉีดบ่อย เนื่องจากราคาแพง โดยเฉลี่ยที่ต่างประเทศราคา ซีซีละ 15,000-18,000 บาท รวมถึงการออกแบบมาเฉพาะที่ เฉพาะจุดที่ต้องการฉีดจริงๆ ก็ตาม ก็ยังเป็นสารกึ่งถาวร และยิ่งออกแบบมาให้อยู่ได้นานขึ้นด้วย

เป็นที่ทราบว่าฟิลเลอร์ในท้องตลาดที่ใช้ฉีดในปัจจุบันไม่ได้ผ่านการรับรองจาก อย.ทั้งหมด เพราะบางยี่ห้ออาจมีฟิลเลอร์ที่ผ่านการรับรองจาก อย. เพียงแค่ชนิดเดียว และเมื่อนํามาใช้งาน ก็นําฟิลเลอร์ชนิดที่ไม่ผ่านการรับรองจาก อย. มาให้บริการ โดยอ้างว่าสินค้ายี่ห้อดังกล่าวได้รับการรับรอง มาตรฐานแล้ว ซึ่งการกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหาย ผู้จะใช้ฟิลเลอร์จึงควรตรวจสอบให้แน่ชัดโดยสามารถตรวจสอบคุณสมบัติว่าผ่านการรับรองหรือไม่ ที่เว็บไซต์ของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย.

ผู้เขียนขอนำประสบการณ์การถาม-ตอบ ระหว่างแพทย์กับคนไข้ที่มาปรึกษาเสริมจมูกในกรณีที่ฉีดจมูกมา ที่น่าจะทําให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น

ถาม: ฟิลเลอร์ทํางานอย่างไร ?

ตอบ: ฟิลเลอร์ เปรียบเสมือนฟองน้ำ สามารถพองตัว และยุบตัวได้ จากน้ำที่อยู่ในเนื้อเยื่อบริเวณรอบๆที่ฉีด สำหรับคนที่ฉีดมาแล้วลองสังเกตได้ เวลานอนนานหรือดื่มน้ําปริมาณมาก จมูกจะดูบวมใหญ่ๆ แต่เมื่อเหงื่อออกมาก หรือถูกความร้อนมาก มันจะยุบตัวลดลง ซึ่งคนที่ได้ไปฉีดฟิลเลอร์ มาแล้วคงได้รับคำเตือนมาเหมือนกันว่าอย่าไปอยู่ใกล้เตาไฟหรือเข้าซาวน่า

ดังนั้นการที่รู้สึกว่าฟิลเลอร์ยุบหรือหายไปนั้นที่จริงยังเหลือโครงร่างของมันไว้ เพียงแค่มันแห้งลง หรือไม่ก็ไหลไปอยู่ข้างร่องจมูกแก้ม หรือปลายจมูกตามแรงดึงดูดของโลก

ภาพขยายจากกล้องจุลทรรศน์ของฟิลเลอร์ 2 ย่ีห้อ เปรียบเทียบกัน

ภาพขยายจากกล้องจุลทรรศน์ของฟิลเลอร์ 2 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกัน


ฉีดฟิลเลอร์ (Filler) อย่างไร ให้ได้ผลดี?

การฉีดฟิลเลอร์ที่ดีและฉีดโดยผู้เชี่ยวชาญนั้น มีวิธีการฉีดหลากหลายวิธีตามตำแหน่งความลึกตื้นที่ต้องการให้ฟิลเลอร์ไปแทรกตัวอยู่ ไม่ว่าจะฉีดในชั้นผิวหนังกำพร้า (mid-dermis) การฉีดให้ไปอยู่ในชั้นไขมันใต้ผิวหนัง (Subcutaneous) หรือการฉีดให้ฟิลเลอร์ไปอยู่ชั้นใต้เยื่อหุ้มกระดูก (sub- periosteal) การฉีดให้ได้ผลดีในแต่ละตำแหน่ง หรือชนิดของฟิลเลอร์เองก็อาจจำเป็นต้องฉีดผสมผสานกันโดยเฉพาะการฉีดลึกระดับใต้เยื่อหุ้มกระดูกมักจะไม่เกิดปัญหาไหลย้อย แต่ข้อเสียคือ จะต้องฉีดโดยใช้ปริมาณมากๆ จึงจะเห็นผล ซึ่งเปลืองค่าใช้จ่ายมากพอสมควร หลายคนที่ฉีดฟิลเลอร์มาแล้ว เมื่อเอามือสัมผัสบริเวณที่ฉีดเทียบกับ บริเวณผิวส่วนอื่นที่ไม่ได้ฉีด จะรู้สึกได้ว่าเนื้อเยื่อบริเวณที่ฉีดกับไม่ได้ฉีดนั้น ให้ความรู้สึกแตกต่างกัน โดยเฉพาะตําแหน่งที่ฉีดมา ไม่ว่าจมูกหรือคาง จะให้ความรู้สึกหนาถ้าเทียบกับตำแหน่งไม่ฉีด ซึ่งแพทย์มักใช้วิธีนี้ให้คนไข้พิสูจน์ด้วยตนเองว่าฟิลเลอร์นั้นยังอยู่ยืนยาว โดยเฉพาะในเวลาที่คนไข้ยืนยันว่าบอกว่าฉีดมานานแล้วสลายไปแล้ว หรือว่าไปตรวจมาแล้ว หมอคนที่ฉีดให้จะบอกว่ามันสลายไปแล้ว

 
ภาพแสดงฟิลเลอร์ ในการเติมเต็มร่อง หรือหลุมบนใบหน้า

ภาพแสดงฟิลเลอร์ ในการเติมเต็มร่อง หรือหลุมบนใบหน้า

 



ถาม: ฟิลเลอร์ที่ฉีดแล้ว จะสลายเมื่อใด ?

ตอบ: ฟิลเลอร์ถูกออกแบบมาให้สลายในหลายช่วงเวลา เช่น ยุบตัวเมื่อผ่านไป 6 เดือน 8 เดือน 12 เดือน หรือ 2-5 ปี แล้วจึงยุบ ในกรณีที่ฟิลเลอร์ไม่ยุบบริษัทที่นำสารเหล่านี้เข้ามาขายจะนำตัวที่ฉีดสลาย หรือที่เรียกว่าเอนไซม์ ( Enzyme) สลายตัว HA เพื่อมาให้แพทย์ดูวิธีการ คือนำฟิลเลอร์ใส่แก้วน้ำแล้วเติมเอนไซม์ลงไปในแก้วจะเห็นได้เลยว่ามันสลายจริง แถมบางคนยังแสดงการดื่มให้แพทย์ดูด้วยเพื่อตอกย้ำว่าสลายได้จริง ปลอดภัยจริง กินได้ด้วย อย่างไรก็ตามก็มีคําถามตามมาว่า เหตุใดที่บอกว่าสลายเองตามธรรมชาติ แล้วยังต้องผลิตสารเพื่อให้สลายด้วย

 
ยาสลาย Demal Filler กลุ่ม HA ที่หมอท่ัวโลกใช้ และรับรองว่าได้ผลในการสลายจริง

ยาสลาย Demal Filler กลุ่ม HA ที่หมอท่ัวโลกใช้ และรับรองว่าได้ผลในการสลายจริง

 

ข้อสังเกตเมื่อมีการแสดงวิธีการสลายฟิลเลอร์ให้ดูนั้นมักทำภายนอกร่างกายแต่สำหรับสารที่ถูกฉีดเข้าไปในร่างกายคนแล้วไม่เหมือนกัน เพราะในร่างกายมีเน้ือเยื่อ (Connective tissue) ที่สารฟิลเลอร์ เหล่านี้ไปเกาะแทรกอยู่ อีกทั้งเมื่อฉีดยาสลาย ตัวยานั้นไม่ได้วิ่งเข้าไปหาฟิลเลอร์ได้ง่ายเหมือนตอนยังไม่มีฟิลเลอร์นะครับ เพราะตอนนี้ช่องว่างระหว่างเซลล์นั้นเต็มไปด้วยฟิลเลอร์ท่ีแทรกก่อนหน้าน้ันแล้ว หลายคร้ังที่คนไข้ฉีดสลายมาแล้ว ไม่หมดต้องกลับไปฉีดอีกหลายคร้ัง ปัญหาอีกอย่างคือฟิลเลอร์ที่ถูกฉีดยาสลายแล้วมักสลายจากจุดที่ฉีดแล้วไหลไปกองรวมกันบริเวณอื่น

ถาม: ไม่สลายแล้วขูดออกได้หรือไม่ ?

ตอบ: ได้ แต่สารฟิลเลอร์พวกน้ีมันเข้าไปแทรกตามช่องว่างระหว่าง เซลล์ชั้นผิวหนังกําพร้า และเซลล์ไขมันใต้ผิวหนังแล้ว ฉะนั้นวิธีการเดียวที่ขูดออกให้หมดก็คือต้องเลาะเอาช้ันผิวหนังกําพร้าออกบางส่วน ร่วมกับตัดเอาช้ันไขมันใต้ผิวหนังออกไปด้วย แต่ไขมันใต้ผิวหนังนั้นมีความสําคัญมาก ในแง่การทําให้ผิวหนังด้านนอกไม่ยุบ ไม่บุ๋ม ไม่ย่น การตัดช้ินเน้ือออกมากเกินไปจึงไม่เป็นผลดี โดยเฉพาะจมูก ท่ีมีชั้นไขมันใต้ผิวหนังบาง ค่อนข้างมาก

 
8D9FAFBC-4928-44E9-8849-BA8463A0E938.jpeg
 

ถาม: ควรจะทําอย่างไร เมื่อฟิลเลอร์ขูดก็ไม่ได้ ฉีดสลายไม่ได้ หากทิ้งไว้จะเป็นอันตรายหรือไม่ จะเหมือนกรณีซิลิโคนเหลว ที่ภายหลังพบว่าคุณภาพไม่ดี หรือคล้ายกรณีเต้านมเทียมยี่ห้อหนึ่ง ที่ใช้เสริมเป็นเวลานับ 10 ปี ภายหลังพบว่ามีโอกาสเกิดมะเร็ง

ตอบ: คําแนะนําคือต้องกลับไปหาสถานที่ที่ฉีดฟิลเลอร์ให้กับคนไข้ โดยเฉพาะกรณีที่ถึงเวลายุบแล้วยังไม่ยุบ ซึ่งตรวจได้เองโดยการเอามือมาสัมผัสว่ามันให้ความรู้สึกแตกต่างกัน จากนั้นขอคําปรึกษาว่า ถ้าต้องการเอาออกจากร่างกาย ฉีดสารสลายได้หรือไม่ จะสลายหมดหรือเปล่า และสําหรับคนที่ฉีดแล้วสวยและพอใจ อย่ารีบกังวลใจในอันตราย เพราะยังไม่มีรายงานว่าเป็นสารก่อมะเร็ง เพราะอย่างน้อยคงต้องใช้เวลาเป็น 10 ปี ถึงจะรู้ได้

ถาม: ฟิลเลอร์ไม่เหมาะกับการฉีดจมูกเลยหรือไม่ หรือเป็น เพราะหมอศัลยกรรมจมูกที่ต่อต้าน

ตอบ: การฉีดจมูกโดยสารเติมเต็มหรือฟิลเลอร์น้ัน ต้องเลือกคนไข้เป็นรายๆไปครับ ไม่ได้เหมาะกับทุกกรณี ส่วนจะเหมาะกับคนไข้ลักษณะใด ให้สังเกตภาพด้านล่างจะสังเกตว่าคนไข้รายนี้เนื้อจมูกบาง เห็นกระดูกจมูกชัดเจนประเภทนี้การฉีดเติมความหนาของผิวหนังเพียงเล็กน้อยด้วยฟิลเลอร์จึงเพียงพอ

 
ภาพคนไข้ก่อนและภายหลังฉีดจมูกด้วยฟิลเลอร์

ภาพคนไข้ก่อนและภายหลังฉีดจมูกด้วยฟิลเลอร์

 


ถาม: กรณีที่ฉีดมาแล้ว แต่อยากจะเสริมอีก แพทย์จะทําให้ได้หรือไม่ ?

ตอบ: แพทย์ทําให้ได้ แต่มีรายละเอียดที่ต้องหาข้อสรุปก่อน ถ้าจมูกยังมีฟิลเลอร์อยู่แล้ว หมอขูดไม่ได้ จะพยายามเสริมให้โด่งน้อยกว่าปกติ เพราะระหว่างผ่าตัดเสริมจมูก ฟิลเลอร์จะบวมโตขึ้นจากยาชา หลังเสริมจมูกแล้ว จะบวมมาก และยุบช้ากว่าคนทั่วไปที่ไม่ได้ฉีด เพราะฟิลเลอร์จะยิ่งพองขึ้น จากอาการบวมของเน้ือเยื่อหลังผ่าตัด ช่วงนี้ต้องมีสติและใจเย็นๆ อย่าไปพยายามกดหรือบีบจมูก เพราะตอนน้ีจมูกที่เสริมซิลิโคนยังไม่ยึดติดกับกะโหลกใบหน้า ห้ามจับหรือกดโดยเด็ดขาด และข้อตกลงอีกประการหนึ่งคือ เมื่อจมูกยุบเต็มท่ีและฟิลเลอร์เริ่มแห้งแล้ว จมูกที่ได้อาจโด่งน้อยกว่าความต้องการได้ เพราะแพทย์ต้องระมัดระวังในการเสริม ไม่ให้เมื่อเสริมไปแล้ว สันจมูกโด่งจนเกินงามหรือในปัจจุบันแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจใช้วิธีดูดฟิลเลอร์ออก ที่เรียกว่า Filler-Suction เพื่อให้ filler ออกมาก็ขึ้นโดยไม่สูญเสียเนื้อเยื่อของจมูกเดิมไป

มีกรณีศึกษาจากคนไข้ท่านหนึ่ง ปรึกษาหมอว่า ไปฉีดจมูกมาก่อนด้วยฟิลเลอร์ และคิดว่าฟิลเลอร์ยุบตัวแล้วจึงไปเสริมจมูกด้วยซิลิโคน แต่หลังจากเสริมไปแล้วจมูกดูโด่งมากกว่าที่ตั้งใจไว้ คุณหมอคนที่เสริมจมูกให้บอกว่า ท่ีมันโด่งนั้น เกิดจากฟิลเลอร์ที่บวมน้ํา และให้รอ 6 เดือนจะยุบเอง

คนไข้จึงกลับไปคลีนิคเดิมที่ฉีดฟิลเลอร์ให้ และหมอที่ฉีดบอกว่า เมื่อฟิลเลอร์โดนความร้อนจะสลายไป จากนั้นก็นำเครื่อง IPL (Intense Pulse Light) มาวางนาบบนสันจมูกทำให้คนไข้สบายใจคิดว่าจะยุบแล้วจนกระทั้ง เมื่อกลับถึงบ้านจึงพบว่า จมูกแดงตั้งแต่สันจมูกถึงปลายจมูก หลังจากนั้นไม่นาน ก็เริ่มสังเกตว่ามีรอยไหม้บริเวณผิวหนังที่สันจมูก ที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะว่าจมูกคนไข้รายนี้ไม่ได้มีเฉพาะฟิลเลอร์ แต่มีซิลิโคนที่เสริมจมูกด้วย และซิลิโคนนี่เอง ที่ดูดความร้อนจากเครื่อง IPL จากนั้นจึงสะสมความร้อนไว้ และปล่อยความร้อนกลับมาทางใต้ผิวหนัง ทําให้เกิดรอยไหม้ที่ผิวหนัง บริเวณสันจมูก

จริงๆ ยังมีเรื่องเล่าจากการฉีดฟิลเลอร์อีกมาก มีทั้งที่เป็นข่าวและไม่เป็นข่าว อย่างเรื่องที่ประเทศไทยพบบ่อยกว่าประเทศอื่นคือ ฉีดฟิลเลอร์แล้วตาบอด!!!!!

สาเหตทที่ฉีดฟิลเลอร์แล้วตาบอด หรือผิวหนังตายนั้น มักเกิดจากแพทย์ผู้ฉีดโดยตรง ที่อาจเกิดความผิดพลาดขึ้น ผู้เขียนจึงขอแนะนำ แนวทางการฉีด อาการระยะแรก และแนวทางรักษาเบื้องต้นหากฉีดแล้วเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ขึ้น เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่แพทย์ทุกท่าน ในการช่วยคนไข้ที่เริ่มเกิดปัญหาจากการฉีด

 
ภาพคนไข้ที่ฉีดฟลเลอร์แล้วตาบอด ส่วนราคาฟิลเลอร์จะถูกหรือแพง หรือแม้แต่จะเป็นไขมันของเราเองมาฉีด ก็มีปัญหาได้เหมือนกัน

ภาพคนไข้ที่ฉีดฟลเลอร์แล้วตาบอด ส่วนราคาฟิลเลอร์จะถูกหรือแพง หรือแม้แต่จะเป็นไขมันของเราเองมาฉีด ก็มีปัญหาได้เหมือนกัน

 

ถาม-ตอบ ให้เข้าใจ ก่อนใช้ ฟิลเลอร์

1. ฉีดอย่างไร ? จึงทําให้ตาบอด ผิวหนังตาย

ตอบ: แม้ว่าคําตอบคือการฉีดเข้าเส้นเลือด เป็นสาเหตุให้ตาบอด ผิวหนังตาย แต่ก็มีรายละเอียดที่อธิบายได้มากขึ้น คือ

1.1 ตําแหน่งฉีด ตําแหน่งที่จะไม่ทําให้ตาบอด คือต้องหลีกเลี่ยงการฉีดเข้าเส้นเลือดเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นเส้นเลือดแดงหรือดำ และต้องเข้าใจกายวิภาค (Anatomy) ให้กระจ่างว่าเส้นเลือดแดงและดําบนใบหน้า วิ่งไปอย่างไร ออกจากไหน และวิ่งไปในชั้นไหนของผิวหนัง กล้ามเนื้อหรือกระดูก เพราะเส้นเลือดแดงหรือดำมักวิ่งคู่กันและวิ่งอยู่ในชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ดังนั้น การฉีดที่ปลอดภัย ควรฉีดในตำแหน่งที่ตื้นหรือลึกกว่านั้น

 
ภาพแสดงการเดนิ ทางของเสน้ เลอื ดแดง จะเห็นว่าเส้นเลือดแดงจะวิ่งอยู่ใน ชนั้ ไขมนั ใตผ้ วิ หนงั และขา้ มกงึ่ กลางของ จมกู ดว้ ย ดงั นนั้ การทคี่ ดิ วา่ ฉดี ตรงกลาง แล้วจะไม่เจอเส้นเลือดนั้นคิดผิด

ภาพแสดงการเดินทางของเส้นเลือดแดง จะวิ่งอยู่ในชั้นไขมันใต้ผิวหนัง และข้ามกึ่งกลางของจมูกด้วย ดังนั้นการที่คิดว่าฉีดตรงกลาง แล้วจะไม่เจอเส้นเลือดนั้นคิดผิด

 
 
ภาพแสดงแขนงของเส้นเลือดแดง จากภาพ เส้นเลือดแดง DN (Dorsonasal Artery) มีแขนงต่อเนื่องไปยัง เส้นเลือดแดง OA (Optic Artery) ฉะนั้นจึง อธิบายได้ไม่ยากว่าทําาไมตาถึงบอด และเนื้อหนังบริเวณเปลือกตาใต้คิ้ว ถึงขาดเลือดได้

ภาพแสดงแขนงของเส้นเลือดแดง จากภาพ เส้นเลือดแดง DN (Dorsonasal Artery) มีแขนงต่อเนื่องไปยัง เส้นเลือดแดง OA (Optic Artery) ฉะนั้นจึงอธิบายได้ไม่ยาก ว่าทําไมตาถึงบอด และเนื้อหนังบริเวณเปลือกตาใต้คิ้ว ถึงขาดเลือดได้

 

1.2 อุปกรณ์ส่งเสริมในการฉีด (Filler supporter) ซึ่งได้แก่

1.2.1 ควรใช้เข็มขนาดเล็กมาก แม้กระทั่งเข็มที่ให้มากับกล่องฉีดฟิลเลอร์นั้นก็ยงมีขนาดใหญ่เกินไป ให้ไปเปลี่ยนเป็น Blunt Flexible Micro-cannulas จะเหมาะสมกว่า และย้ำว่า ไม่ใช่ Blunt Cannulas เฉยๆ แต่ต้อง Flexible ด้วย เพราะเมื่อปลายเข็มแบบทู่โอกาสที่จะแทงเข้าเส้นเลือดจะน้อยลง และเมื่อปลายเข็มทู่จะไม่สามารถแทงทะลุผิวหนังได้ แพทย์จึงต้องใช้เข็มจริงแทงเป็นทางนําให้ก่อน แล้วจึงแทงเข็มทู่เข้าไปในบริเวณที่ต้องการเติมฟิลเลอร์ได้

1.2.2 การใช้เครื่องมือเพื่อสแกนเส้นเลือด บริเวณที่ฉีดขณะทําการฉีด และฉีดเข้าไปในส่วนที่ไม่มีเส้นเลือด และหลีกเลี่ยงการฉีดเข้าไปในเส้นเลือด เครื่องมือนี้จะช่วยได้มากในผู้ป่วยที่มีผิวคล้ำ หรือผิวหนังหนา จากการมีไขมันปกคุมเส้นเลือด

 
ภาพแแสดงการใช้เครื่องมือเพื่อสแกนเส้นเลือด บริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์

ภาพแแสดงการใช้เครื่องมือเพื่อสแกนเส้นเลือด บริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์

 

1.3 วิธีการฉีด ก่อนฉีดต้องดูดเพื่อตรวจสอบว่ามีเลือดด้วยหรือไม่ ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานหลังจากนั้นจึงเริ่มฉีดเบาๆ (Low Pressure Injection) ฉีดฟิลเลอร์ครั้งละไม่มาก และฉีดช้าๆ อย่างระมัดระวัง

 
ภาพเปรียบเทียบระหว่าง Bolus Injection Technique กับ Retrograde Serial Puncture Technique

ภาพเปรียบเทียบระหว่าง Bolus Injection Technique กับ Retrograde Serial Puncture Technique

 

1.4 ปริมาณการฉีด ควรฉีดปริมาณน้อย และไม่ควรเสี่ยงฉีดคนเดียว ถึง 2 กล่อง เนื่องจากฟิลเลอร์ ไม่ได้ออกแบบมาให้เติมปริมาณมาก แล้วจะไปทดแทนความโด่งของจมูกได้ เพราะหากฉีดมากเกินไปอาจจะมีผลกระทบต่อเนื้อหนังบริเวณดังกล่าวได้

1.5 สารที่ฉีด เป็นสิ่งที่คลินิกแต่ละแห่งต้องตระหนักอยู่แล้วว่า สิ่งที่นํามาฉีดให้ผู้ป่วย ไม่ว่าจะได้รับการรับรองมาตรฐานจาก อย. หรือไม่ล้วนแต่มีผลให้เกิดตาบอดได้เช่นกัน

1.6 ประวัติการฉีดหรือประวัติการเคยผ่าตัด หากผู้รับบริการเคยฉีดมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตาม ทั้งฟิลเลอร์แบบถาวร หรือชั่วคราวก็ตามการฉีดเข็มที่สองจะอันตรายเสมอ และยิ่งมีประวัติว่าเคยผ่าตัดเสริมจมูก หรือประสบอุบัติเหตุมาก่อนก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงการฉีดอย่างเด็ดขาด เพราะกายวิภาค (Anatomy) ของเส้นเลือดเปลี่ยนไปแล้วไม่มากก็น้อย


2. จะรู้ได้อย่างไร? ว่าคนไข้ที่ฉีดไปแล้วเกิดปัญหา หรือมีสิ่งใดบ่งชี้ได้ว่าจะเกิดปัญหา

ตอบ: พึงตระหนักว่า “ซีด ขาว บวม ม่วง แดง” ถือเป็นอาการผิดปกติ ที่เกิดขึ้นจากการฉีดฟิลเลอร์เข้าเส้นเลือด เช่น ถ้าฟิลเลอร์เข้าไปอุดเส้นเลือดแดงก็จะซีด ขาว แต่ถ้าไปอุดเส้นเลือดดํา ก็จะมีลักษณะบวม ม่วง แดง ซึ่งจะมีความสําคัญมากในการทําการรักษาเบื้องต้น เพราะถ้าเข้าเส้นเลือดแดง การรักษาเบื้องต้น คือพยายามสลาย หรือลดขนาดของฟิลเลอร์ด้วยการประคบร้อน แต่ถ้าเป็นการฉีดเข้าเส้นเลือดดำ ซึ่งจะทำให้เลือดระบายออกมาไม่ได้ต้องประคบเย็นเพื่อให้เส้นเลือดหดตัว การตรวจพบก่อนอย่างรวดเร็ว สามารถยับยั้งไม่ให้เกิดการเสียหาย ลุกลามได้จึงอย่าชะล่าใจคิดว่ามันจะไม่เกิดกับเราได้ ส่วนตัวคนไข้เองหาก พบว่ามีอาการใดๆ ก็ตามที่ผิดปกติ ให้รีบติดต่อหาแพทย์อย่างเร่งด่วน

 
ภาพจาก internet แสดงการฉีด filler แล้วเกิดเนื้อตาย อย่าถามว่าคนไข้ต้องไปทําอะไรต่อ หมอเองในฐานะศัลยแพทย์ตกแต่ง คาดว่าคงต้องตัดเนื้อตายออกและโยกเนื้อมาปิด

ภาพจาก internet แสดงการฉีด filler แล้วเกิดเนื้อตาย อย่าถามว่าคนไข้ต้องไปทําอะไรต่อ หมอเองในฐานะศัลยแพทย์ตกแต่ง คาดว่าคงต้องตัดเนื้อตายออกและโยกเนื้อมาปิด

 

3. ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหลังทํา การรักษาเบื้องต้นด้วยการประคบ แล้วจะทําอย่างไรต่อ

ตอบ:

3.1 นําสารฉีดสลายฟิลเลอร์ (Hyaluronidase) ฉีดขนาดประมาณ 0.1 ซีซี ให้กระจายไปทั่วๆบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ จากนั้นนวดบริเวณนั้นไปสักระยะ สําหรับคลินิกเสริมความงามที่นิยมฉีดทั้งหลาย ควรมียาสลายฟิลเลอร์ไว้ประจําที่ร้านด้วย

 
ภาพการฉีดสลายฟิลเลอร์ ซึ่งแนะนําว่าควรฉีดกระจายไปหลายๆตําแหน่ง เพราะหลังฉีดเราไม่รู้แล้วว่าตัวฟิลเลอร์ที่เราฉีดเข้าไปแล้วเกิดปัญหา มันวิ่งไป ถึงไหน และไปอุดถึงไหนกันแน่

ภาพการฉีดสลายฟิลเลอร์ ซึ่งแนะนําว่าควรฉีดกระจายไปหลายๆตําแหน่ง เพราะหลังฉีดเราไม่รู้แล้วว่าตัวฟิลเลอร์ที่เราฉีดเข้าไปแล้วเกิดปัญหา มันวิ่งไป ถึงไหน และไปอุดถึงไหนกันแน่

 

Hyaluronidase เป็น Proenzyme สลาย Hyaluronic Acid(filler) ดังนั้นต้องระวังว่าอาจเกิดการแพ้รุนแรง เพราะแม้ Hyaluronic Acid ซึ่งเป็นฟิลเลอร์ที่ใช้ฉีด ไม่จําเป็นต้องตรวจว่าจะเกิดอาการแพ้หรือไม่ก่อนที่จะฉีด แต่กรณีที่เป็นสารเพื่อสลายตัวฟิลเลอร์ดังกล่าว จําเป็นต้องตรวจสอบก่อน

3.2 ใช้พลาสเตอร์แปะ พลาสเตอร์ที่นำมาแปะ ไม่ใช่พลาสเตอร์ธรรมดาทั่วไป แต่ต้องเป็น Nitroglycerine Paste หรือแผ่นแปะขยายหลอดเลือดหัวใจ ที่ใช้สําหรับคนไข้ที่มีปัญหาเส้นเลือดหัวใจตีบ หลังจากแปะแล้วให้นวดไปเรื่อยๆ ประมาณ 3-4 นาที

 
ภาพคนไข้ที่ฉีดฟิลเลอร์บริเวณขมับ แล้วเกิดปัญหาเส้นเลือดอุดตัน (Superficial Temporal Artery)

ภาพคนไข้ที่ฉีดฟิลเลอร์บริเวณขมับ แล้วเกิดปัญหาเส้นเลือดอุดตัน (Superficial Temporal Artery)

 

3.3. ฉีด High Dose Steroid(Dexa) ประมาณ 4-5 มิลลิกรัม ซึ่ง จะช่วยลดอักเสบ ลดบวม

ส่วนการรักษาอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้กิน Aspirin Grain 5 ให้ Antibiotic หรือจะให้คนไข้ไปเข้าตู้ Hyperbaric Oxegen ก็ตาม ผู้เขียน ถือว่าเป็นการรักษาตามอาการตามสมควร เพราะความเสียหายแก่เนื้อเยื่อ มันเกิดขึ้นแล้ว สิ่งที่แพทย์แก้ไขได้เป็นแต่เพียงเบื้องต้นเท่านั้น

บทความนี้เขียนเพื่อแพทย์ที่ต้องฉีดโดยตรง ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ผู้เขียนหามาจากบทความต่างๆด้วย ได้แก่

Plast Reconstr Surg. 2012 Apr;129(4):995-1012 เรื่อง Blindness following cosmetic injections of the face

Aesthet Surg J. 2011 Jan;31(1):110 เรื่อง Etiology, prevention, and treatment of dermal filler complications.

ทุกท่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ และที่สําคัญไม่ใช่แค่ฟิลเลอร์เท่านั้น ที่สามารถทําให้ตาบอด ผิวหนังตายได้ แต่ Fat injection ที่หมอศัลยกรรม ตกแต่งนิยมปั่น หากฉีดไม่ถูกวิธี ก็ก่อให้เกิดปัญหาได้เช่นกัน

"ผู้เขียนในฐานะแพทย์ ไม่มีเจตนาใดๆที่จะขัดขวางหรือยับยั้งการประกอบอาชีพสุจริตของคุณหมอมือฉีดทั้งหลาย แต่ไม่อยากให้ต้องพบกับเรื่องเศร้าที่จะเกิดขึ้นกับคนไข้มากกว่า จึงเขียนแนะนำวิธีการฉีด การป้องกันและการรักษา ให้กับทุกคนได้อ่านด้วย”

นพ. อดุลย์ชัย ธรรมาแสงเสริฐ

ThPRS of Thailand